การลดผลกระทบจากค้อนน้ำด้วยถังลดความดัน

ผู้แต่ง

  • ประยงค์ กีรติอุไร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • ชีวินทร์ ลิ้มศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
  • ปฏิภาณ พรมดี หมวดทางหลวงสีดา แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา
  • ภูริปพัฒน์ วิจิตรปัทมวงศ์ สำนักชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ค้อนน้ำ, ถังลดความดัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความแตกต่างของการลดผลกระทบจากค้อนน้ำ ด้วยการประยุกต์ใช้ถังลดความดันแบบที่มีและไม่มีแผ่นไดอะแฟรมยืดหยุ่น

     วิธีการวิจัย: จำลองการเกิดค้อนน้ำด้วยปั๊มน้ำขนาด 0.5 แรงม้า เฮดสูงสุด 20 เมตรและวาล์วควบคุมเพื่อปรับอัตราการไหล โดยส่งน้ำผ่านท่อเมนพีวีซี ขนาด ½ นิ้ว, ¾ นิ้ว, และ 1 นิ้ว ซึ่งมีความยาวท่อ 4 เมตร และเก็บผลการศึกษาโดยการวัดค่าความดันที่ถังลดความดันที่สร้างขึ้นเองด้วยท่อพีวีซี และเปรียบเทียบค่าความดันที่เกิดขึ้น ทั้งแบบที่มีและไม่มีแผ่นไดอะแฟรมยืดหยุ่น โดยถังลดความดันที่ทำการศึกษานี้ มีขนาด ½ นิ้ว, ¾ นิ้ว, 1 นิ้ว, 1.5 นิ้ว, และ 2 นิ้ว และความยาวของแต่ละขนาดคือ 50, 75, 100 เซนติเมตร

     ผลการศึกษา: ประสิทธิภาพการลดความดันจากการเกิดค้อนน้ำเมื่อใช้ถังลดความดันอยู่ที่ 2%-5%, 7%-15%,และ 20%-40% สำหรับขนาดท่อ ½ นิ้ว, ¾ นิ้ว,และ 1 นิ้ว ตามลำดับ โดยประสิทธิภาพจะแปรผันตรงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของถังลดความดันทั้งสองแบบ ซึ่งแผ่นไดอะแฟรมยืดหยุ่นสามารถลดความดันโดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าไม่มีแผ่นไดอะแฟรมยืดหยุ่น 2%-7% และเนื่องจากขนาดของท่อส่งน้ำจะแปรผกผันกับค่าความดันที่เกิดขึ้นในระบบท่อ ดังนั้นขนาดของท่อเมนส่งน้ำหลักจึงมีผลต่อประสิทธิภาพการลดความดัน โดยท่อจ่ายน้ำหลักขนาด 1 นิ้ว, ¾ นิ้ว,และ ½ นิ้ว มีประสิทธิภาพการลดความดันน้ำอยู่ที่ 20%-55%, 7%-29% และ 2%-10% ตามลำดับ นอกจากนี้การออกแบบความยาวของถังลดความดัน โดยสนใจการสูญเสียพลังงานเนื่องจากแรงเสียดทานในท่อ จะทำให้ได้ค่าความยาวสูงสุดของถังลดความดันน้อยกว่ากรณีที่ไม่สนใจการสูญเสียพลังงานเนื่องจากแรงเสียดทานในท่อ

References

กีรติ ลีวัจนกุล. (2545). วิศวกรรมชลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ SPEC.

ชมรมวิศวกรออกแบบระบบสุขาภิบาล. (2559). Water Hammer คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 27ธันวาคม 2562, จาก https://www.facebook.com/1223496287678630/posts/

นิพนธ์ ลักขณาอดิศร. (2555). Water Hammer. วารสาร TPA News, (191), 52-53. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562, จาก http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/62/ContentFile1154.pdf

พนิดา สีมาวุธ. (2564). ศึกษาผลของการเลือกใช้วาล์วน้ำล้นและวาล์วส่งน้ำต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26. INF-07-(1-6). การประชุมรูปแบบออนไลน์: วิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.).

มัชฌิมะ สิทธิโห. (2557). การประยุกต์ใช้ปั๊มกระแทกน้ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้าน พลังงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563, จาก http://kmlo.crma.ac.th/ kmnew/wp-content/uploads/2018/05/km57_15.pdf

วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์. (2541). การออกแบบระบบท่อภายในอาคาร. กรุงเทพฯ: สมาคม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

ปริวัสส์ เอื้อนสะอาด, วราวุธ วุฒิวณิชย์ และจิระกานต์ ศิริวิชญ์ไมตรี. (2555). การ วิจัยและพัฒนาเครื่องตะบันนํ้าแบบประหยัด (ปริญญานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.

ศิริเจษฎ์ กองแก้ว. (2558). ปั๊มสูบนํ้าอัตโนมัติโดยใช้พลังงานธรรมชาติจากน้ำ (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุนทร วงศ์เสน. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพเครื่องตะบันน้ำ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันรัชต์ภาคย์.

Darcy, H. (1857). Recherches expérimentales relatives au mouvement de l'eau dans les tuyaux. Paris: Mallet-Bachelier. 268 pages and atlas (in French).

Glenn, O. Brown. (2002). The History of the Darcy-Weisbach Equation for Pipe Flow Resistance. Environmental and Water Resources History, Sessions at ASCE Civil Engineering Conference and Exposition 2002, pp 34-43, DOI:10.1061/40650(2003)4

Prayong Keeratiurai. (2013). The Quality Management in the Building Sanitation. European Journal of Scientific Research, 112(3), 375-386.

SCG Brand. (2559). แก้ปัญหาเสียงดังในท่อประปาจากแรงดันน้ำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562, จาก https://th-th.facebook.com/SCGBrand/posts/916678408463491

Weisbach, J. (1845). Lehrbuch der Ingenieur- und Maschinen-Mechanik, Vol. 1. Braunschweig: Theoretische Mechanik, Vieweg und Sohn. 535 pages (in German).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-10

How to Cite

กีรติอุไร ป., ลิ้มศิริ ช., พรมดี ป., & วิจิตรปัทมวงศ์ ภ. (2022). การลดผลกระทบจากค้อนน้ำด้วยถังลดความดัน. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(1), 76–90. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/248131

ฉบับ

บท

บทความวิจัย