ผลกระทบของกรดคาร์บอนิคต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวผสมปูนขาว

ผู้แต่ง

  • เอกชัย ม่านโคกสูง ประธานบริษัท บริษัท ศรรวย จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ดินเหนียวผสมปูนขาว, กำลังอัดแกนเดียว, กรดคาร์บอนิค, อายุบ่ม

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของกรดคาร์บอนิคต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวผสมปูนขาว ตัวอย่างดินเหนียวที่ใช้ในการศึกษาเป็นดินขาว ซึ่งนำมาผสมกับปูนขาวให้ได้ปริมาณปูนขาวร้อยละ 10 ถึง 50 โดยมวลแห้ง สารละลายกรดคาร์บอนิคที่ใช้มีปริมาณร้อยละ 0 ถึง 30 โดยมวลของปูนขาวส่วนเกินจากค่าปริมาณปูนขาวที่เหมาะสม

     วิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้ทดสอบกำลังอัดแกนเดียวดำเนินการตามมาตรฐาน ASTM D1633 เพื่อหาปริมาณปูนขาวที่เหมาะสมที่อายุบ่ม 28 วัน และหากำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินเหนียวผสมปูนขาวที่มีสารละลายกรดคาร์บอนิคและอายุการบ่มต่าง ๆ กัน

     ผลการวิจัย: จากการทดสอบกำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างเพื่อหาปริมาณปูนขาวที่เหมาะสมที่อายุบ่ม 28 วัน พบว่าค่าปริมาณปูนขาวที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 30 ซึ่งเป็นค่าที่มีกำลังอัดแกนเดียวสูงที่สุด  และจากผลทดสอบหากำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างที่มีปริมาณปูนขาวส่วนเกินจากค่าที่เหมาะสมร้อยละ 10 (ปริมาณปูนขาวร้อยละ 40) และปริมาณกรดคาร์บอนิคต่าง ๆ กัน พบว่า กำลังอัดแกนเดียวของตัวอย่างดินเหนียวผสมปูนขาวและกรดคาร์บอนิคทุกสัดส่วนการผสมเพิ่มขึ้นตามอายุบ่ม การเพิ่มปริมาณสารละลายกรดคาร์บอนิคส่งผลให้กำลังอัดมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามเมื่อผสมกรดคาร์บอนิคลงในตัวอย่างดินเหนียวผสมปูนขาวพบว่า กำลังอัดแกนเดียวที่อายุการบ่ม 28 วันมีค่าสูงกว่าตัวอย่างที่ไม่ผสมกรดคาร์บอนิค

References

ASTM. (2017). ASTM Standard D1633-17, Standard Test Methods for Compressive Strength of Molded Soil-Cement Cylinders, ASTM International, West Conshohocken, PA, 2017, DOI: 10.1520/D1633-17, www.astm.org.

Kalantari, B., and Huat, B.K.K. (2008). Peat Soil Stabilization Using Ordinary Portland Cement, Polypropylene Fibers, and Air Curing Technique. Electronic Journal of Geotechnical Engineering, 13(J), 1-13.

Mir, B. A. (2015). Some Studies on the Effect of Fly Ash and Lime on Physical and Mechanical Properties of Expansive Clay. International Journal of Civil Engineering, 13(3), 1-12.

Muntohar, A. S. (2000). Influence of the Rice Husk Ash and Lime on Engineering Properties of Clayey Sub-grade. Electronic Journal of Geotechnical Engineering, 5, 1-13.

Park, M., Jeon, J., and Lee, S. (2013). Assessment of Geotechnical Characteristics on Cement-Admixed Composite. Proceedings of the Twenty-third International Offshore and Polar Engineering Anchorage, 663-668.

Uchaipichat, A. (2010). Laboratory Investigation of Thermal Effect on Compressive Strength of Cement Admixed Clay. Electronic Journal of Geotechnical Engineering, 15(M), 1277-1284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

ม่านโคกสูง เ. (2020). ผลกระทบของกรดคาร์บอนิคต่อกำลังอัดแกนเดียวของดินเหนียวผสมปูนขาว. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 33(2), 78–85. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/vujournal/article/view/243745

ฉบับ

บท

บทความวิจัย