การพัฒนารูปแบบการดูแลผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
มะเร็งศีรษะและลำคอ, รังสีรักษา, การดูแลผิวหนังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา และแนวคิดการดูแลโรคเรื้อรังมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษาครั้งแรก ในศูนย์รังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 14 ราย เลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม และแบบประเมินการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษา ของ Radiation Therapy Oncology Group (RTOG)
ผลการวิจัย: ประเมินพบว่ารูปแบบการดูแลเดิมขาดการส่งเสริมความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงผิวหนัง ทักษะการประเมิน ดูแลผิวหนัง และการดูแลความสะอาดร่างกายตนเองของผู้ป่วย ผลการพัฒนาได้รูปแบบการดูแลผิวหนังที่ได้รับรังสีรักษา ที่มีส่วนประกอบ 8 ประการ คือ 1) ประเมินและให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ 2) ดูแลให้ผู้ป่วยและญาติประเมินผิวหนังของตนเองทุกเช้า 3) ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาลร่วมกันวางแผนการดูแลผิวหนัง
4) ดูแลผู้ป่วยให้ใส่เสื้อผ้าอ่อนนุ่ม คอกว้าง ไม่มีปกเสื้อ 5) ทำความสะอาดแผลบริเวณที่ได้รับรังสีด้วยน้ำเกลือ
6) งดใช้พลาสเตอร์ปิดทับบนผิวหนังที่ขีดเส้นไว้ 7) ดูแลการใช้ยาทาผิวหนังตามแผนการรักษาแต่ละราย และ
8) ให้คำแนะนำ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่างๆ และเน้นการทำความสะอาดร่างกายและอาบน้ำโดยสบู่อ่อนๆในการดูแลผิวหนังที่ได้รับรังสี
ผลของการนำรูปแบบการดูแลไปใช้ พบว่า อัตราการเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษา ระดับ 3–4 ลดลงจากร้อยละ 0.43 เหลือร้อยละ 0.29 ผู้ป่วยพึงพอใจระดับมาก
ร้อยละ 98 ส่วนบุคลากรพึงพอใจระดับมากร้อยละ 100 รูปแบบการดูแลนี้คาดว่าจะสามารถนำไปขยายผลสู่โรงพยาบาลอื่นเพื่อการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพบริการเพิ่มขึ้นต่อไป
References
2. นุชรัตน์ มังคละคีรี และคณะ. (2556) รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพนักงานตีเหล็ก กลุ่มตีเหล็กตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 67-72.
3. พวงทอง ไกรพิบูลย์ และคณะ. (2554). ตำรารังสีรักษา: ฟิสิกส์ชีวรังสี การพยาบาลผู้ป่วย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
4. มนทกานติ์ บุตรคำ และบำเพ็ญจิต แสงชาติ. (2559). ผลของการดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสีรักษาด้วยวิธีที่แตกต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. โรงพยาบาลขอนแก่น. (2558). รายงานทะเบียนมะเร็งประจำปี 2557 โรงพยาบาลขอนแก่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
6. ศุภาวดี พันธ์หนองโพน. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบการ จัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลขุนหาญ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
7. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2561). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลปี 2560: Hospital based cancer registry 2017 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์ จำกัด.
8. สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ รายงานการประชุมระดับโลก เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ. โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ:
ธนเพลส จำกัด. 1-8.
9. สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย. (2562). กฎบัตรอ๊อตตาวาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion -1986). สืบค้น 2 ตุลาคม 2562, จาก http://122.154. 73.26/hl/index.php?module=!&file=InterestingTopic2.php&cat=a00
10. อังกาบ แสนยันต์. (2558). เอกสารประกอบการสอน: เรื่อง Nursing Management of the client receiving Radiation Therapy (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ.
11. อรวรรณ สัมภวมานะ, ลินดา คล้ายปักษี, พนิดา อาวุธ, และโศรตรีย์ แพน้อย. (2560). การพัฒนาการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลมะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 157-167.
12. Deming. (1950). ความเป็นเลิศของ Deming. [Online available] สืบค้น 12 กันยายน 2562, จาก http://adisony. blogspot.com/2012/10/edward-deming.html
13. Feight, D., Baney, T., Bruce, S. & McQuestion, M. (2011). Putting evidence into practice: Evidence-based interventions for radiation dermatitis. Clinical Journal of Oncology Nursing, 15(5), 481-492.
14. Iwamoto, Ryan R., Haas, Marilyn L., & Gosselin, Tracy K. (2012). Manual for radiation oncology nursing practice and education (4thed.). U.S.A.
15. Rong - Xi L. et al. (1989). Comparison of continuous and spilt course Radiotherapy for nasopharyngeal carcinoma. The National Journal of Radiation Oncology Biology Physics, 16, 307-10.
16. Srinagarin Hospital, Khon Kaen University. (2557). Hospital-Based Cancer Registry 2017 (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
17. United States Cancer Statistics. (2017). Data Visualizations. สืบค้น 2 ตุลาคม 2562, จาก https://gis.cdc. gov/Cancer/USCS/DataViz.html
18. Wagner, E. H., Austin, B. T., Davis, C., Hindmarsh, M., Schaefer, J. & Bonomi, A. (2001). Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Affairs, 20(6), 64-78.