การศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง

Authors

  • กรรณิการ์ กมลรัตน์

Keywords:

สีอิเล็กทรอนิกส์, สีที่แท้จริง, ผ้าย้อมคราม, การประมวลผลภาพดิจิตอล, e-Color, True Color, Indigo-dyed Fabric, Digital Image Processing

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง และ 2) เพื่อหาวิธีปรับสีของภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้เหมือนกับสีของผ้าย้อมครามผืนจริง สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นภาพถ่ายโดยกล้องถ่ายรูปเดียวกันในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน จากผ้าย้อมคราม 138 ชิ้น ที่เป็นสีล้วน มีลวดลาย และมีเฉดสีที่แตกต่าง ซึ่งรวบรวมมาจากกลุ่มผู้ทอผ้าพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร ผู้ร่วมการทดลองเป็นนักศึกษาทั้งหมด 85 คน หญิง 50 คน และชาย 35 คน ผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนจะประเมินความเหมือนของสีภาพถ่ายผ้าย้อมครามที่แสดงผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีของผ้าย้อมครามผืนจริง แต่ละภาพจะถูกประเมิน 3 ครั้ง ในเวลาที่ต่างกัน จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าสีของภาพผ้าครามที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์แตกต่างจากสีแท้จริงอย่างมีนัยสำคัญ คือสีผ้าย้อมครามที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์อ่อนกว่าสีผ้าย้อมครามผืนจริง หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการปรับสีของภาพถ่ายผ้าย้อมครามโดยใช้เทคนิคฟังก์ชันยกกำลังจากการทดลองพบว่าภาพของผ้าย้อมครามสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มโทนสีฟ้าคลาสสิคหรือโทนสีไม่ฉูดฉาด (classic dull blue) 2) กลุ่มโทนสีฟ้าสดใส (vivid blue) และ 3) กลุ่มโทนสีน้ำเงินเข้มหรือโทนสีกรมท่า (dark blue) และค่าแกมม่าที่ใช้กับฟังก์ชันยกกำลังเพื่อจะปรับสีของภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้สีที่ใกล้เคียงที่สุดกับสีผ้าผืนจริง จะอยู่ในช่วง [1, 1.5) สำหรับภาพโทนสีไม่ฉูดฉาด [1.5, 3.0) สำหรับภาพโทนสีฟ้าสดใส และ [3.0, 4.5) สำหรับภาพโทนสีกรมท่า


Abstract

The objectives of this research were 1) to compare color as displayed on the computer  screens and the real color of indigo-dyed fabric and 2) to find a way to enhance the color of the fabric image on the computer screen to look the same as the real color.The data collected were the pictures or images taken by the same camera in the same setting of 138 pieces of indigo-dyed fabric collected from indigenous textile production groups in SakonNakhon Province which were solid, patterned and of different shades of indigo. Eighty-five students, 50 females and 35 males, participated in the experiment. Each participant evaluated the color similarity of all the 138 fabric images against the colors of the real fabrics. Each image was evaluated three times per one participant on separate days. According to statistical analysis it was found that the colors of indigo-dyed fabric images were significantly different from the true colors of the real fabrics. The e-colors were lighter than the real colors. Power-Law Transformation was used to increase the color accuracy of the fabric images. From the experiment it was also found that the indigo-dyed fabric images can be classified into three tone groups : classic dull blue, vivid blue and dark blue. The gamma values to be used with Power-Law Transformation to make the image colors as close as possible to the real colors were in the range of [1, 1.5) for classic dull blue images, of [1.5, 3.0) for vivid blue images and of [3.0, 4.5) for dark blue images.

Downloads

How to Cite

กมลรัตน์ ก. (2014). การศึกษาเปรียบเทียบสีผ้าย้อมครามที่แสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์กับสีผ้าย้อมครามผืนจริง. Creative Science, 6(11), 51–64. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/18478