การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง กับการเรียนแบบปกติ

Authors

  • กันตวีย์ คลังแสง

Keywords:

-

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมายคือ 1)เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง  เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองที่พัฒนาขึ้น 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง กับการเรียนแบบปกติ เรื่องแรง และการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 วิธีเรียนเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 2 วิธีเรียนแบบปกติ จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ 1) โปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับกลุ่มทดลอง จำนวน 10 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองและด้วยการเรียนแบบปกติเรื่องแรง และการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ  ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 4)แบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.319 ถึง 0.829 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร ด้วยวิธีการทางสถิติ  Hotelling –T 2

ผลการวิจัยปรากฏ  ดังนี้

1. ด้านประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.10/ 80.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  75/75

2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ  0.7252  นักเรียนมีความก้าวหน้าในด้านการเรียนรู้ร้อยละ  72.52

3. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

4. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop the courseware simulation entitled “Force and Motion” for Matthayomsuksa 1 with the required efficiency of 75/75, 2) to investigate effective index of the developed courseware simulation, 3) to compare learning achievement and scientific attitudes of student who learned using courseware simulation and conventional and 4) to compare the learning achievement and scientific attitudes between before learning and after learning of the student who learned using courseware simulation entitled “Force and Motion” for Matthayomsuksa 1.The sample of this study divided into 2 groups. The sample was selected using the cluster random sampling technique : the experimental groups consisted of 30 students learned using the courseware simulation and the control groups consisted of 30 students taught using the conventional. The instruments used in the study were: 1) the courseware simulation in the science learning strand for Matthayomsueksa 1 entitled “Force and Motion”, 2) plans for the courseware simulation and conventional in the science learning strand for Matthayomsueksa 1 entitled “Force and Motion”, 3) a 50-items achievement test with the reliability value of 0.88, and  4) a 40-items 5 rating scale inventory on scientific attitudes with dominating power (rxy) rating 0.319 – 0.829 and reliability of 0.99. The statistics used for data analyses were percentage, mean, standard deviation, the dependent t-test, and Hotelling –T 2.

The results of the study were as follows :

1. The efficiency of the developed courseware simulation in the science learning strand for Matthayomsueksa 1 entitled “Force and Motion” was 81.10/80.93, which was higher than the established requirement at 75/75.

2. The effectiveness index of the courseware simulation was 0.7252 showing that the students progressed their learning at 75.52 percent.

3. The students who learn using the courseware simulation in the science learning strand for Matthayomsueksa 1 entitled “Force and Motion” had higher learning achievement and scientific attitudes than the students who learn using the conventional at the .05  level of significance.

4. The students between learning by using the courseware simulation showed gains in

learning achievement and scientific attitudes before learning at the .05  level of significance.

Downloads

How to Cite

คลังแสง ก. (2014). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง กับการเรียนแบบปกติ. Creative Science, 5(10), 163–178. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/16864