การออกแบบหมวกคลุมศีรษะสำหรับป้องกันดวงตาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟรักษา

Main Article Content

ชนัญชิดา ณะสม
สาคร ชลสาคร
ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชนิดของผ้าที่เหมาะสมต่อการใช้งานสำหรับทารกแรกเกิด และ 2) ศึกษาการออกแบบหมวกคลุมศีรษะสำหรับป้องกันดวงตาทารกแรกเกิด ทั้งเกิดก่อนและครบกำหนด ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาชนิดผ้าที่เหมาะสม 5 ชนิด ได้แก่ ผ้าสาลูเส้นใยฝ้ายร้อยละ 100 ผ้าสาลูลายการ์ตูนเส้นใยฝ้ายร้อยละ 100 ผ้าสำลีเส้นใยโพลีเอสเตอร์ร้อยละ 100 ผ้าหนังไก่เส้นใยโพลีเอสเตอร์ร้อยละ 100 และผ้านาโนเส้นใยโพลีเอสเตอร์ร้อยละ 100 และผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพพบว่า การทดสอบการขัดถูผ้าสาลูลายการ์ตูนเส้นใยฝ้ายร้อยละ 100 มีความคงทนต่อการขัดถูอยู่ในระดับ 4 จาก 5 ระดับ การทดสอบความคงทนของสีต่อการซักพบว่า มีค่าระดับการเปลี่ยนแปลงของสีอยู่ในระดับ 4/5 การติดเปื้อนสีบนผ้าขาวอยู่ในระดับ 4/5 และการทดสอบความคงทนของสีต่อการกดทับด้วยความร้อนพบว่า มีค่าระดับการเปลี่ยนแปลงของสีอยู่ในระดับ 4/5 และการติดเปื้อนสีบนผ้าขาวอยู่ในระดับ 4/5 เท่ากัน 2) การศึกษาการออกแบบหมวกคลุมศีรษะ 5 แบบ ได้แก่ แบบแผ่นฟิล์ม เย็บติด แบบเปิดปิด แบบมัดเชือกใต้ค้าง แบบหมวกพับสวมปิด และแบบเปิดหน้าผาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจ (IOC) เท่ากับ 0.60 ผลการศึกษาพบว่า ผ้าสาลูลายการ์ตูนเส้นใยฝ้ายร้อยละ 100 มีความเหมาะสมต่อการใช้งานสำหรับทารกแรกเกิดมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 มีสมบัติเด่นคือ ระบายอากาศได้ดี มีความโปร่งบาง ทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนต่อแสง ด้านความปลอดภัยต่อผิวทารกไม่ระคายเคือง และมีลวดลายผ้าที่น่ารักทันสมัยเหมาะสมแก่ทารกแรกเกิด และหมวกคลุมศีรษะแบบมัดเชือกใต้คางมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 จากผลการทดสอบที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ว่า มีความเหมาะสมในการใช้งานก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอทางการแพทย์

Article Details

How to Cite
[1]
ณะสม ช., ชลสาคร ส., และ ศรีวรเดชไพศาล ศ., “การออกแบบหมวกคลุมศีรษะสำหรับป้องกันดวงตาทารกที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟรักษา”, RMUTI Journal, ปี 16, ฉบับที่ 2, น. 1–12, ส.ค. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Sopavej, R. and Tommachan, K. (2016). Innovative Anti-Light Blindfold. Documents for R2R Poster Presentation Presentation. Agency Research Development Project 2016 at Chuen Rawiwan Meeting Room, Nong Khai Hospital. Access (30 May 2022). Available (http://nkh.co.th/nk/KM2017/yone1.pdf)

Siribunpipattana, P. (2013). Pediatric Nursing Volume 2 (Revised Edition). Bangkok Thana Press Co., Ltd.

Thongphak, P. (2013). Bright Eyes Innovation from Phototherapy. Quality Improvement Project Performance Document, Special Pediatric Nursing. Nursing Work Group Thammasat Hospital Honor

Innovation, Maternity Room Prakai Hospital Neonatal Intensive Care Unit. (2016). Innovative Eye Protection with Gossamer Cloth. Document KM, Health Promoting Hospital. Health Center 6

Thongphak, P. (2013). Bright Eyes Innovation from Phototherapy. Quality Improvement Project Performance Document, Special Pediatric Nursing. Nursing Work Group Thammasat Hospital Chalermprakiat

Thongpak, P. (2013). Innovative Phototherapy Eye Patch. Access (30 May 2022). Available (http://www.hospitaltu.ac.th/PlanTUHosWeb/data/2013)

Provincial Health Promotion Center 6. (2013). Lotus Eye Patch. Access (30 May 2022). Available (https://www.kallayasnbhpc6kk.files)

Muchowski, K. (2014). Evaluation and Treatment of Neonatal Hyperbilirubinemia. American Family Physician. Vol. 89, No. 11, pp. 873-878

Prayuthate, P. (2014). Education and Toy Design for Early Childhood Children to Promote Learning Development in Systematic Thinking. Master of Science in Industrial Education, Industrial Product Design Technology