โปรแกรมเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงจากโจทย์ปัญหาทางการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาจาวา สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

Main Article Content

นพรัตน์ โพธิ์สิงห์
เอกราวี คำแปล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงจากโจทย์ปัญหาทางการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาจาวา สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) เพื่อประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อโปรแกรม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจจากนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่มีต่อโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 10 คน ได้มาโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงจากโจทย์ปัญหาทางการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาจาวา สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินคุณภาพที่มีต่อโปรแกรม และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่มีต่อโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมพบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.51, S.D. = 0.57)
2) ผลการประเมินความพึงพอใจจากนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.97, S.D. = 0.97)

Article Details

How to Cite
[1]
โพธิ์สิงห์ น. และ คำแปล เ., “โปรแกรมเชิงปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงจากโจทย์ปัญหาทางการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาจาวา สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน”, RMUTI Journal, ปี 15, ฉบับที่ 1, น. 71–85, เม.ย. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Secretariat of the Prime Minister. (2004). Thailand's Honor for Disabilities Operations, Volume 3, People with Disabilities: Determined Life. Bangkok: Amarin Printing and Publishing

Educational Technology Center Loei Rajabhat University. (2018). AR Learning Materials. Access (25 October 2019). Available (http://www.techno.lru.ac.th/techno/สื่อการเรียนรู้-ar/)

Bureerat, N., Bunpabuth, P., and Duangpamorn, O. (2020). Augmented Reality for Teaching Thai’s Idioms of the Hearing Impaired. Journal for Research and Innovation, Institute of Vocational Education Bangkok. Vol. 3, No. 1, pp. 101-110

Chumchim, P. and Maneerat, P. (2020). Application Development of Sign Language Translation Systems for the Hearing-Impaired People. PKRU SciTech Journal. Vol. 4, No. 1, pp. 22-32

Mingsiritham, K. and Chanyawudhiwan, G. (2018). A Development of Smart Book to Assisted Communication for Hearing Impaired Students. Research Report. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University

Phatai, G., Chanpuem, P., and Wattanasura, A. (2018). Animal Planet Vocabulary Book with Augmented Reality Technology. Journal of Project in Computer Science and Information Technology. Vol. 4, No. 1, pp. 23-28

Sookpadhee, T. (2017). Multimedia Format for Learning at Computer Graphics in Hearing Impaired People. APHEIT JOURNAL. Vol. 23, No. 2, pp. 21-33

Chaiyasit, S. and Kobsiripat, W. (2016). An Application of Augmented Reality Technology with Sign Language for the Students with Hearing Impairment of Nakhon Ratchasima. University of the Thai Chamber of Commerce Journal Science and Technology.

Vol. 3, No. 1, pp. 10-29

Kewnara, P. (2013). The Development of Computer Assisted Instruction On the Use of Visual Aids For Students with Hearing Impairment of Ratchasuda College, Mahidol University, Independent. Veridian E-Journal, SU. Vol. 6, No. 1, pp. 267-275

Yoosomboon, S. and Wanapiroon, P. (2013). Design of Interactive Instructional Media Applying an Augmented Reality in a Ubiquitous Learning Environment to Reduce Student Cognitive Loads. National e-Learning Conference NEC 2013. pp. 120-125.

Bangkok: Parbpim Limited Partnership

Wongratana, C. (2017). Techniques for Using Statistics for Research. 13th ed. Bangkok: Amorn Printing