การพัฒนาแผนที่ศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพโดยข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวจากดาวเทียมระบบ MODIS ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ฤทัยชนก สายน้ำทิพย์
ปริชาติ เวชยนต์
ปิยพงษ์ เชนร้าย

บทคัดย่อ

พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนภายใต้โลกที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหลายประเทศได้นำเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลมาประยุกต์ใช้ในการสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมในช่วงคลื่นอินฟราเรดความร้อนมาประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิว และวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อประเมินพื้นที่ศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพเบื้องต้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงนำข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิว (Land Surface Temperature; LST) จากดาวเทียมระบบ MODIS มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลชนิดหิน และรอยเลื่อน เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การซ้อนทับข้อมูลแบบกำหนดค่านํ้าหนัก จากการวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างตัวแปร พบว่า ชนิดหินมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมินํ้าร้อนที่ผิวดินมากที่สุด (0.587) รองลงมาคือ ระยะห่างจากรอยเลื่อน (-0.410) และความผิดปกติอุณหภูมิพื้นผิว (-0.376) ตามลำดับ แผนที่ศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ศักยภาพสูง ศักยภาพปานกลาง และศักยภาพตํ่า คิดเป็นร้อยละ 12.29 36.32 และ 51.39 ตามลำดับ เมื่อสอบเทียบความถูกต้องระหว่างตำแหน่งและระดับอุณหภูมิของ แหล่งนํ้าพุร้อนที่ปรากฏในพื้นที่กับระดับศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ได้จากการศึกษาพบว่า มีค่าความถูกต้องร้อยละ 53.3 อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

How to Cite
[1]
สายน้ำทิพย์ ฤ., เวชยนต์ ป., และ เชนร้าย ป., “การพัฒนาแผนที่ศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพโดยข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวจากดาวเทียมระบบ MODIS ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย”, RMUTI Journal, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 68–82, พ.ย. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

Department of Mineral Resources. (1986). Exploration of Geothermal Resources in Northern Thailand. Complete Report. (in Thai)

Qin, Q., Zhang, N., Nan, P., and Chai, L. (2011). Geothermal Area Detection Using Landsat ETM+ Thermal Infrared Data and its Mechanistic Analysis - A Case Study in Tengchong, China. International Journal of Applied Earth Observation and Geoinformation. Vol. 13, Issue 4, pp. 552-559. DOI: 10.1016/j.jag.2011.02.005

Zhang, N., Qin, Q., He, L., and Jiang, H. (2012). Remote Sensing and GIS based Geothermal Exploration in Southwest Tengchong, China. In Geoscience and Remote Sensing Symposium (IGARSS), 2012 IEEE International. Munich, Germany. pp. 5364-5367. DOI: 10.1109/IGARSS.2012.6352395

Tian, B., Wang, L., Kashiwaya, K., and Koike, K. (2015). Combination of Well- Logging Temperature and Thermal Remote Sensing for Characterization of Geothermal Resources in Hokkaido, Northern Japan. Remote Sensing. Vol. 7, Issue 3, pp. 2647-2667. DOI: 10.3390/rs70302647

Chan, H.-P., Chang, C.-P., and Dao, P. D. (2017). Geothermal Anomaly Mapping Using Landsat ETM+ Data in Ilan Plain, Northeastern Taiwan. Pure and Applied Geophysics. Vol. 175, Issue 1, pp. 303-323. DOI: 10.1007/s00024-017-1690-z

Darge, Y. M., Hailu, B. T., Muluneh, A. A., and Kidane, T. (2019). Detection of Geothermal Anomalies Using Landsat 8 TIRS Data in Tulu Moye Geothermal Prospect, Main Ethiopian Rift. International Journal of Applied Earth Observation and Geoinformation. Vol. 74, pp. 16-26. DOI: 10.1016/j.jag.2018.08.027

Raksaskulwong, M. (2013). Geothermal in Thailand: Alternative Energy. Technical Report. Bangkok: Department of Mineral Resources. (in Thai)

Department of Mineral Resources. (2012). Earthquakes Thailand. Prachinburi: Thurakan Charoen Kit Co., Ltd. (in Thai)

Department of Mineral Resources. (2007). Geology of Thailand (Second Edition). Bangkok: Dokbia Publishers. (in Thai)

Mwaura, D. and Kada, M. (2017). Developing a Web-Based Spatial Decision Support System for Geothermal Exploration at the Olkaria Geothermal Field. International Journal of Digital Earth. Vol. 10, Issue 11, pp. 1118-1145. DOI: 10.1080/17538947.2017.1284909

He, H., Hu, D., Sum, Q., Zhu, L., and Liu, Y. (2019). A Landslide Susceptibility Assessment Method Based on GIS Technology and AHP-Weighted Information Content Method: A Case Study of Southern Anhui, China. International Journal of Geo-Information. Vol. 8, Issue 6, pp. 1-23. DOI: 10.3390/ijgi8060266

Chiang Mai University. (2006). Potential Assessment of Hot Springs in Thailand. Final Report. Access (4 October 2018). Available (http://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/Content.pdf)

Department of Groundwater Resources. (2020). Groundwater and Geothermal Energy. Access (9 October 2020). Available (http://www.dgr.go.th/th/download/23?page=31)