สารประกอบบิวทิลทินในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด

Main Article Content

ชนพพล กลิ่นกลบ
กิตติยา เชียร์แมน
นิตยา สุดศิริ
อาภาพร บุญมี
สุทิน กิ่งทอง

บทคัดย่อ

สารประกอบบิวทิลทินเป็นสารที่มีการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลเนื่องจากการใช้สีทาเรือ ที่มีสารไตรบิวทิลทิน เป็นส่วนผสมสารกลุ่มนี้สามารถหลุดออกจากเรือสะสมในสิ่งแวดล้อม และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศทางทะเล ภายหลังองค์การทางทะเลระหว่างประเทศจึงประกาศยกเลิกการใช้สารกลุ่มนี้ ในสีทาเรือตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากสารกลุ่มนี้มีการสะสมยาวนานจึงควรมีการตรวจวัด ปริมาณอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยพบรายการการปนเปื้อนของสารประกอบบิวทิลทินในสัตว์เป็นครั้งแรก ในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis บริเวณชายฝั่งทะเล ในปี ค.ศ. 1994 และ 1995 โดยพบสารประกอบบิวทิลทินในหอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งทะเลประเทศไทยปริมาณเฉลี่ย 49 ng/g ของนํ้าหนักสด โดยใน จังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด มีปริมาณเฉลี่ย 32 73 และ 16 ng/g ของนํ้าหนักสด ตามลำดับ และ ในปี ค.ศ. 2004 มีการตรวจวัดในหอยแมลงภู่ชนิดนี้อีกครั้ง บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน พบสารประกอบบิวทิลทินปริมาณเฉลี่ย 35 ng/g ของน้ำหนักสด โดยในภาคตะวันออกพบรายงานในจังหวัดชลบุรีมีปริมาณเฉลี่ย 70 ng/g ของน้ำหนักสด อย่างไรก็ตามภายหลังการยกเลิกการใช้สารกลุ่มนี้ในสีทาเรือในปี ค.ศ. 2008 ยังไม่พบรายงานการปนเปื้อนของสารกลุ่มนี้ในหอยแมลงภู่อีก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดปริมาณสารประกอบบิวทิลทินในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด โดยใช้สาร Sodium tetraethylborate ในการสร้างอนุพันธ์ของสารประกอบทิน และวิเคราะห์ด้วยเทคนิค GC-MS ผลการศึกษาพบว่าสามารถตรวจพบสารประกอบบิวทิลทินในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่ มีปริมาณเฉลี่ย 2.66 ng/g ของน้ำหนักแห้งคิดเป็น 0.49 ng/g ของน้ำหนักสด โดยแบ่งเป็นจังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด มีค่าเฉลี่ย 1.04 5.98 และ 0.95 ng/g ของน้ำหนักแห้งตามลำดับ ซึ่งคิดเป็น 0.23 1.10 และ 0.15 ng/g ของนํ้าหนักสด ตามลำดับ ข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสะสมของสารประกอบบิวทิลทินในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่มีแนมโน้มลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่พบในอดีต

Article Details

How to Cite
[1]
กลิ่นกลบ ช., เชียร์แมน ก., สุดศิริ น., บุญมี อ., และ กิ่งทอง ส., “สารประกอบบิวทิลทินในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis บริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด”, RMUTI Journal, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 87–100, ส.ค. 2019.
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชนพพล กลิ่นกลบ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

กิตติยา เชียร์แมน, ฝ่ายมาตรวิทยาและชีวเคมี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คลอง 5 คลองหลวง ปทุมธานี

ฝ่ายมาตรวิทยาและชีวเคมี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คลอง 5 คลองหลวง ปทุมธานี

นิตยา สุดศิริ, ฝ่ายมาตรวิทยาและชีวเคมี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คลอง 5 คลองหลวง ปทุมธานี

ฝ่ายมาตรวิทยาและชีวเคมี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คลอง 5 คลองหลวง ปทุมธานี

อาภาพร บุญมี, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี

สุทิน กิ่งทอง, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี

References

[1] Goldberg, E. D. (1986). TBT: An Environmental Dilemma. Environment Science and Policy for Sustainable Development. Vol. 28, Issue 8, pp. 17-44. DOI: 10.1080/00139157.1986.9928814

[2] Bryan, G. W., Gibbs, P. E., Hummerstone, L. G., and Burt, G. R. (1986). The Decline of the Gastropod Nucella lapillus Around South West England: Evidence for the Effect of Tributyltin From Antifouling Paints. Journal of the Marine Biological Association of the United Kingdom. Vol. 66, Issue 3, pp. 611-640. DOI: 10.1017/S0025315400042247

[3] Alzieu, C. L., Sanjuan, J., Deltreil, J. P., and Borel, M. (1986). Tin Contamination in Arcachon Bay: Effects on Oyster Shell Anomalies. Marine Pollution Bulletin. Vol. 17, Issue 11, pp. 494-498. DOI: 10.1016/0025-326X(86)90636-3

[4] Antizar-Ladislao, B. (2008). Environmental Levels, Toxicity and Human Exposure to Tributyltin (TBT)-Contaminated Marine Environment. Environment International. Vol. 34, Issue 2,
pp. 292-308. DOI: 10.1016/j.envint.2007.09.005

[5] Sidharthan, M., Young, K. S., Woul, L. H., Soon, P. K., and Shin, H. W. (2002). TBT Toxicity on the Marine Microalga Nannochloropsis oculata. Marine Pollution Bulletin. Vol. 45, Issue 1-12, pp. 177-180. DOI: 10.1016/S0025-326X(01)00283-1

[6] Jensen, H. F., Holmer, M., and Dahllof, I. (2004). Effects of Tributyltin (TBT) on the Seagrass Ruppia maritima. Marine Pollution Bulletin. Vol. 49, Issue 7-8, pp. 564-573. DOI: 10.1016/j.marpolbul.2004.03.010

[7] Oehlmann, J., Stroben, E., Schulte-Oehlmann, U., and Bauer, B. (1998). Imposex Development in Response to TBT Pollution in Hinia incrassata (Strm, 1768) (Prosobranchia, Stenoglossa). Aquatic Toxicology. Vol. 43, No. 4, pp. 239-260. DOI: 10.1016/S0166-445X(98)00058-7

[8] Horiguchi, T., Kojima, M., Hamada, F., Kajikawa, A., Shiraishi, H., Morita, M., and Shimizu, M. (2006). Impact of Tributyltin and Triphenyltin on Ivory Shell (Babylonia japonica) Populations. Environmental Health Perspectives. Vol. 114, Supplement 1, pp. 13-19. DOI: 10.1289/ehp.8047

[9] Ohji, M., Arai, and T., Miyazaki, N. (2005). Acute Toxicity of Tributyltin to the Caprellidea (Crustacea: Amphipoda). Marine Environmental Research. Vol. 59, Issue 3, pp. 197-201. DOI: 10.1016/j.marenvres.2004.02.002

[10] Zhang, J., Zuo, Z., Chen, Y., Zhao, Y., Hu, S., and Wang, C. (2007). Effect of Tributyltin on the Development of Ovary in Female Cuvier (Sebastiscus marmoratus). Aquatic Toxicology. Vol. 83, Issue 3, pp. 174-179. DOI: 10.1016/j.aquatox.2007.03.018

[11] International Maritime Organization (IMO). (2001). International Convention on the Control of Harmful Anti-Fouling Systems on Ships. Access (August, 2018). Available (http://www.imo.org/en/About/Conventions/ListOfConventions/Pages/International-Convention-on-the-Control-of-Harmful-Anti-fouling-Systems-on-Ships-(AFS).aspx)

[12] Cole, R. F., Mills, G. A., Parker, R., Bolam, T., Birchenough, A., Kröger, S., and Fones, G. R. (2015). Trends in the Analysis and Monitoring of Organotins in the Aquatic Environment. Trends in Environmental Analytical Chemistry. Vol. 8, pp. 1-11. DOI: 10.1016/j.teac.2015.05.001

[13] Choi, M., Moon, H. B., Yu, J., Eom, J. Y., and Choi, H. G. (2009). Butyltin Contamination in Industrialized Bays Associated with Intensive Marine Activities in Korea. Archives of Environmental Contamination and Toxicology. Vol. 57, No. 1, pp. 77-85. DOI: 10.1007/s00244-008-9235-1

[14] Fent, K. (1996). Ecotoxicology of Organotin Compounds. Critical Reviews in Toxicology. Vol. 26, Issue 1, pp. 3-117. DOI: 10.3109/10408449609089891

[15] Champ, M. A. (2000). A Review of Organotin Regulatory Strategies, Pending Actions, Related Costs and Benefits. Science of the Total Environment. Vol. 258, Issue 1-2, pp. 21-71. DOI: 10.1016/S0048-9697(00)00506-4

[16] Mattos, Y., Stotz, W. B., Romero, M. S., Bravo, M., Fillmann, G., and Castro, Í. B. (2017). Butyltin Contamination in Northern Chilean Coast: Is there a Potential Risk for Consumers. Science of the Total Environment. Vol. 595, pp. 209-217. DOI: 10.1016/j.scitotenv.2017.03.264

[17] Kim, T., Jeon, S., Hong, S., Song, S. J., Kwon, B. O., Ryu, J., and Khim, J. S. (2017). Spatiotemporal Distributions of Butyltin Compounds in Various Intertidal Organisms Along the Samcheok and Tongyeong Coasts of Korea. Chemosphere. Vol. 172, pp. 268-277. DOI: 10.1016/j.chemosphere.2016.12.152

[18] Chen, C. W., Chen, C. F., Ju, Y. R., and Dong, C. Di. (2016). Assessment of the Bioaccumulation and Biodegradation of Butyltin Compounds by Thalamita crenata in Kaohsiung Harbor, Taiwan. International Biodeterioration & Biodegradation. Vol. 113, pp. 97-104. DOI: 10.1016/j.ibiod.2016.02.018

[19] Castro, Í. B., Iannacone, J., Santos, S., and Fillmann, G. (2018). TBT is Stilla Matter of Concern in Peru. Chemosphere. Vol. 205, pp. 253-259. DOI: 10.1016/j.chemosphere.2018.04.097

[20] Kan-Atireklap, S., Tanabe, S., Sanguansin, J., Tabucanon, M. S., and Hungspreugs, M. (1997). Contamination by Butyltin Compounds and Organochlorine Residues in Green Mussel (Perna viridis, L.) from Thailand Coastal Waters. Environmental Pollution. Vol. 97, Issue 1-2, pp. 79-89. DOI: 10.1016/S0269-7491(97)00070-5

[21] Harino, H., Ohji, M., Wattayakorn, G., Arai, T., Rungsupa, S., and Miyazaki, N. (2006). Occurrence of Antifouling Biocides in Sediment and Green Mussels from Thailand. Archives of Environmental Contamination and Toxicology. Vol. 51, Issue 3, pp. 400-407. DOI: 10.1007/s00244-005-0246-x