การดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูโดยใช้ของเสียจากเปลือกสับปะรด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูโดยใช้ของเสียจากเปลือกสับปะรดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาน้ำเสียและบำบัดสีย้อมจากน้ำทิ้ง โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลู ได้แก่ เวลาสัมผัส ความเข้มข้นเริ่มต้น และอุณหภูมิ จากการทดลองพบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของสีย้อมเมทิลีนบลูทำให้ความสามารถในการดูดซับสีเพิ่มมากขึ้น โดยที่ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีปริมาณการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลู เท่ากับ 109.77 มิลลิกรัมต่อกรัม ของวัสดุดูดซับ และระยะเวลาเข้าสู่สมดุล คือ 2 ชั่วโมง อุณหภูมิที่ต่างกันไม่มีผลต่อปริมาณการดูดซับ เมื่อใช้สมการการดูดซับของฟรอยด์ลิชและสมการของแลงเมียร์ในการศึกษาค่าคงที่ของไอโซเทอม ผลการศึกษาปรากฏว่าการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูจากเปลือกสับปะรด มีความสอดคล้องกับสมการการดูดซับของแลงเมียร์ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.9901 มีค่าคงที่ของการดูดซับสูงสุดเท่ากับ 123.46 มิลลิกรัมต่อกรัม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
(1) นิรมล ปัญญ์บุศยกุล. (2563). ประโยชน์จากผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปสับปะรด (เปลือกสับปะรด). ออนไลน์, สืบค้นจาก https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=zeroinspace&group=1&month=12-2020&date=03 (4 ตุลาคม 2566).
(2) บรรทด จอมสวรรค์, ปิยดา ยศสุนทร, และปิยพร ศรีสม. (2564). การใช้ประโยชน์จากเปลือกสับปะรดภูแลเหลือทิ้งเพื่อพัฒนาเป็นอาหารโค. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 6(2), 10–16.
(3) ชาญชัย คหาปนะ, และณภัทร โพธิ์วัน. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูโดยใช้วัสดุดูดซับที่เตรียมจากผักตบชวา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 58–70.
(4) พชรวรรณ อึ้งศิริสวัสดิ์, และเฉลิม เรืองวิริยะชัย. (2559). การดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูโดยใช้เปลือกหน่อไม้แห้ง (หน้า 343–350). ใน The National and International Graduate Research Conference 2016. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
(5) พลกฤษณ์ จิตร์โต, ธิญาดา ชัยกระทาง, และวรนันต์ นาคบรรพต. (2559). การบําบัดน้ำเสียสีย้อมไหมโดยกระบวนการตกตะกอนด้วยไฟฟ้า. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(2), 228–239.
(6) ธัญวรรณ กฤษณะพุกต์, และชลอ จารุสุทธิรักษ์. (2559). การบำบัดสีในน้ำเสียสีย้อมสังเคราะห์ด้วยกระบวนการโอโซเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา (หน้า 1107–1114). ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54. กรุงเทพฯ.
(7) พัชรนันท์ จันทร์พลอย, กฤติยาภรณ์ หลวงดี, และนภารัตน์ จิวาลักษณ์. (2563). การดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูของถ่านเปลือกส้มโอที่เตรียมจากการเผาแบบเตาลาน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 14(1), 15–25.
(8) เสาวภา ไวยสุศรี. (2559). การกำจัดฟอสเฟตในน้ำเสียโดยการดูดซับด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมออกไซด์จากเปลือกไข่ไก่. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 26(3), 475–486.
(9) กิติศักดิ์ เสพศิริสุข, วิทยา ปั้นสุวรรณ, และนิพนธ์ ตังคณานุรักษ์. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับสารพิษฟอร์โบลเอสเทอร์ในน้ำมันสบู่ดำโดยใช้เบนโทไนต์ชนิดต่าง ๆ (หน้า 327–334). ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
(10) นิสาพร มูหะมัด, สมภพ เภาทอง, อุบล ตันสม, และปิยศิริ สุนทรนนท์. (2559). การดูดซับสีย้อมด้วยกากชา. รายงานวิจัย. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
(11) อรุณ เกิดสวัสดิ์, จีระวุฒิ เพ็งลอย, ไชยชนะ เอกราชันย์, และกัญจน์รัตน์ สุขรัตน์. (2558). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสำหรับการดูดซับ 2-พิโคลีน บนถ่านกัมมันต์ (หน้า 1654–1660). ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
(12) พัชรีพร โสระสิงห์. (2562). การใช้ประโยชน์จากของเสียสับปะรดเพื่อนำไปเป็นวัสดุดูดซับราคาถูกสำหรับกำจัดสี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมมหาบัณฑิต. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
(13) Özer, D., Dursum, G., & Özer, A. (2007). Methylene blue adsorption from aqueous solution by dehydrated peanut hull. Journal of Hazardous Materials, 144, 171–179.
(14) Doğan, M., Abak, H., & Alkan, M. (2009). Adsorption of methylene blue onto hazelnut shell: Kinetics, mechanism and activation parameters. Journal of Hazardous Materials, 164, 172–181.