การพัฒนาวิธีทดสอบดีทีทีอย่างง่ายสำหรับการหาศักยภาพการเกิดออกซิเดชันของตัวอย่างฝุ่น PM2.5
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้หาสภาวะที่เหมาะสมของวิธีทดสอบดีดีที (dithiothreitol assay: DTT assay) อย่างง่ายโดยการตรวจวัดด้วยเครื่องไมโครเพลทรีดเดอร์สำหรับการหาค่าศักยภาพการเกิดออกซิเดชันในตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยอาศัยหลักการวัดอัตราการลดลงของปริมาณสาร DTT ที่ทำปฏิกิริยากับสารอนุมูลอิสระออกซิเจน (reactive oxygen species: ROS) ที่มีในตัวอย่างฝุ่นที่เวลาต่าง ๆ โดยติดตามปริมาณ DTT ที่เหลือจากค่าการดูดกลืนแสงเมื่อทำปฏิกิริยากับ 5,5'-dithio-bis-[2-nitrobenzoic acid] (DTNB) จากการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมพบว่าการสกัดแผ่นกรองฝุ่นควอทซ์ไฟเบอร์ที่มีน้ำหนักฝุ่น PM2.5 ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ด้วยสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ปริมาตร 4 มิลลิลิตร ด้วยเครื่องเขย่าที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 นาที แล้วนำสารละลายตัวอย่างสกัดที่ได้ปริมาตร 100 ไมโครลิตร ทำปฏิกิริยากับสารละลาย DTT ความเข้มข้น 0.10 มิลลิโมลาร์ ปริมาตร 50 ไมโครลิตร ที่เวลา 0, 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที ตามลำดับ จากนั้นเติมสารละลาย DTNB ความเข้มข้น 0.40 มิลลิโมลาร์ ปริมาตร 100 ไมโครลิตร ที่เวลาต่าง ๆ แล้ววัดค่าการดูดกลืนแสงที่ lmax 410 นาโนเมตร ค่าความชันและจุดตัดแกนของกราฟการลดลงของค่าการดูดกลืนแสงเมื่อเทียบกับเวลาถูกนำไปคำนวณหาค่าศักยภาพการเกิดออกซิเดชันของตัวอย่างฝุ่น ได้ทดสอบกับตัวอย่างฝุ่น PM2.5 จำนวน 12 ตัวอย่าง ที่เก็บช่วงเวลากลางวันของเดือนมีนาคม-เมษายน ปี พ.ศ. 2565 ในจังหวัดเชียงใหม่ (57.8±14.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) พบค่าเฉลี่ยของค่าศักยภาพการออกซิเดชันของฝุ่นเทียบกับปริมาตรอากาศ (OPv) และเทียบกับปริมาณฝุ่น (OPm) เป็น 0.304±0.133 นาโนโมลต่อนาทีต่อลูกบาศก์เมตร และ 5.05±1.65 พิโคโมลต่อนาทีต่อไมโครกรัม ตามลำดับ บ่งชี้ถึงความเป็นพิษจากการเกิดออกซิเดชันของสารที่อยู่ในตัวอย่างฝุ่นที่ต่ำ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
เกวลิิน อินลวง และ ชาคริต โชติอมรศักดิ์. (2565). ความสัมพันธ์ของจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยและพื้นที่โดยรอบต่อค่าความเข้มข้น PM2.5 : กรณีศึกษาช่วงฤดูหมอกควัน พ.ศ.2562. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33(2), 588–600.
Kraisitnitikul, P., Thepnuan, D., Chansuebsri, S., Yabueng, N., & Wiriya, W. (2024). Contrasting compositions of PM2.5 in Northern Thailand during La Niña (2017) and El Niño (2019). Journal of Environmental Sciences, 135, 585–599.
Thepnuan, D., Chantara, S., Lee, C. Te, Lin, N. H., & Tsai, Y. I. (2019). Molecular markers for biomass burning associated with the characterization of PM2.5 and component sources during dry season haze episodes in Upper South East Asia. Science of the Total Environment, 658, 708–722.
Thepnuan, D., & Chantara, S. (2020). Characterization of PM2.5-bound polycyclic aromatic hydrocarbons in Chiang Mai, Thailand during biomass open burning period of 2016. Applied Environmental Research, 42(3), 11–24.
Borlaza, L. J. S., Cosep, E. M. R., Kim, S., Lee, K., Joo, H., Park, M., Bate, D., Cayetano, M. G., & Park, K. (2018). Oxidative potential of fine ambient particles in various environments. Environmental Pollution, 243, 1–26.
Jiang, H., Ahmed, C. M. S., Canchola, A., Chen, J. Y., & Lin, Y. H. (2019). Use of dithiothreitol assay to evaluate the oxidative potential of atmospheric aerosols. Atmosphere, 10(10), 571, 1–21.
Liu, W. J., Xu, Y. S., Liu, W. X., Liu, Q. Y., Yu, S. Y., Liu, Y., Wang, X., & Tao, S. (2018). Oxidative potential of ambient PM2.5 in the coastal cities of the Bohai Sea, northern China: seasonal variation and source apportionment. Environmental Pollution, 236, 514–528.
Wang, J., Lin, X., Lu, L., Wu, Y., Zhang, H., Lv, Q., Liu, W., Zhang, Y., & Zhuang, S. (2019). Temporal variation of oxidative potential of water-soluble components of ambient PM2.5 measured by dithiothreitol (DTT) assay. Science of The Total Environment, 649, 969–978.
Hsiao, T. C., Chou, L. T., Pan, S. Y., Young, L. H., Chi, K. H., Chen, A. Y. (2021). Chemically and temporally resolved oxidative potential of urban fine particulate matter. Environmental Pollution, 291, 118206.
Mettakoonpitak, J., Sawatdichai, N., Thepnuan, D., Siripinyanond, A., Henry, C. S., & Chantara, S. (2023). Microfluidic paper-based analytical devices for simultaneous detection of oxidative potential and copper in aerosol samples. Microchimica Acta, 190(6), 241.
Sameenoi, Y., Panymeesamer, P., Supalakorn, N., Koehler, K., Chailapakul, O., Henry, C. S., & Volckens, J. (2012). A Microfluidic Paper-based Analytical Device (µPAD) for Aerosol Oxidative Activity. Environmental Science and Technology, 47(2), 932–940.