การพัฒนาเครื่องตรวจวัดความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟด้วยเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องวัดค่าความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟ
และทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องวัดค่าความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟ ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบเครื่องวัดค่าความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟ และระบบสารสนเทศแสดงผลการวัดค่าความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟ ซึ่งประกอบด้วย เซนเซอร์วัดความชื้น และเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ วัดค่าและส่งข้อมูลไปยังคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ และแสดงผลการวัดค่าผ่านทางระบบสารสนเทศ ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องวัดค่าความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการทดสอบระหว่างเซนเซอร์วัดความชื้นกับเครื่อง EE-KU และเซนเซอร์วัดอุณหภูมิกับ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล (TP101) พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เครื่องวัดค่าความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟ สามารถตรวจวัดความชื้น และอุณหภูมิของเมล็ดกาแฟได้อย่างถูกต้อง แสดงผลการวัดไปยังแอปพลิเคชันที่ติดตั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และเว็บแอปพลิเคชันของผู้ใช้งานได้ แอปพลิเคชันสามารถเพิ่มระบบผู้ใช้งานได้ มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลจากผู้ขายได้ เมื่อเปรียบเทียบด้านราคาพบว่าเครื่องที่พัฒนาขึ้นมีราคาถูกกว่าเครื่องที่มีขายตามท้องตลาดซึ่งไม่สามารถใช้งานแบบออนไลน์ และแสดงผลบนหน้าจอของเครื่องเพียงอย่างเดียว อีกทั้งเครื่องที่พัฒนายังมีขนาดเล็กและเบา พกพาไปใช้ได้อย่างสะดวกกว่าเครื่องทั่วไปที่มีขนาดใหญ่และราคาแพงกว่า รวมถึงการซ่อมบำรุงก็เป็นไปได้โดยง่ายเพราะว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ หาซื้อได้ภายในประเทศและมีราคาถูก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง. (2554). มอดเจาะผลกาแฟแมลงศัตรูในแปลงปลูกที่ส่งผลเสียระหว่างเก็บรักษา. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว, 10(4), 5–6.
ขนิษฐา จิตรลาง. (2566). พื้นฐาน Internet of Things (IoTs). [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://library.wu.ac.th/km/พื้นฐาน-internet-of-things-iots-basic-internet-of-things-iots/ (1 เมษายน 2567).
Paul, R., Nazir, J. B., & Ahammad, A. (2023). Design and development of a smart agriculture (SA) system with machine learning-based IoT architecture (pp 377–381). In 2023 International Conference on Information and Communication Technology for Sustainable Development (ICICT4SD). Dhaka: Bangladesh.
ชนนิกานต์ รอดมรณ์, มธุรส ผ่านเมือง, และ วีระศักดิ์ จงเลขา. (2564). การประยุกต์ใช้เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงศรีวิชัย, 13(2), 315–329.
มินท์ธิตา แดงเรือ. (2566). เมล็ดกาแฟกับความชื้นตัวร้ายทำลายรสชาติ. [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://www.scilution.co.th/coffee-bean-and-humidity-to-spoil-the-taste/#:~:text=โดยปกติแล้วเมล็ดแล้วควรมีค่าความชื้น (1 เมษายน 2567).
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2561). มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เมล็ดกาแฟอะราบิกา. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Ghadban, S. I., & Atiya, A. F. (2019). Polynomial regression for time series prediction. Journal of Intelligent Learning Systems and Applications, 11(02), 9–24.
กนกศักดิ์ บุญทัน และประกาศิต ตันติอลงการ. (2558). เครื่องวัดค่าความชื้นข้าวเปลือกไร้สาย (หน้า 7–12). ใน การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิจิตตรา คุ้มวงษ์, และ สรวง รุ่งประกายพรรณ. (2565). การพัฒนาชุดอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับติดตามอุณหภูมิและความชื้นของการเก็บรักษายา. The Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 17(2), 101–118.