ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำ กับปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และบี บริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
แหล่งน้ำบริเวณอ่าวบ้านดอนมีปริมาณสารอาหารประเภทไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสะสมในปริมาณสูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมของมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์บานสะพรั่งของสาหร่าย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และบี และคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพและเคมีบริเวณอ่าวบ้านดอน โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 3 สถานี ได้แก่ ปากคลองท่าทอง ปากคลองราม และปากคลองกระแดะ ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ผลการศึกษาพบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และบี ของทั้ง 3 สถานี ในช่วงฤดูฝน (15.23-16.93 และ 8.64-9.58 µg/L ตามลำดับ) มีค่าสูงกว่าในช่วงฤดูร้อน (13.25-13.62 และ 7.44-7.91 µg/L ตามลำดับ) การวิเคราะห์ร้อยละความคล้ายคลึงของคุณภาพน้ำและปริมาณคลอโรฟิลล์พบว่าแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามฤดูกาล ที่ระดับความคล้ายคลึงร้อยละ 94.22 และ 96.60 ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่าปริมาณคลอโรฟิลล์มีความสัมพันธ์กับความผันแปรของคุณภาพน้ำตามฤดูกาล โดยค่าปริมาณคลอโรฟิลล์สูงในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ค่าอุณหภูมิในน้ำ พีเอช ความเค็ม และออกซิเจนละลายน้ำต่ำ ในขณะที่ปริมาณธาตุอาหาร ได้แก่ แอมโมเนียรวม ไนไตรท์ ไนเตรท และฟอสฟอรัสมีค่าสูง ถึงแม้ว่าปริมาณคลอโรฟิลล์ในช่วงฤดูฝนจะมีค่าสูงกว่าในช่วงฤดูร้อน แต่ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ บ่งชี้ว่าบริเวณพื้นที่ที่ศึกษาทั้งสองฤดูอยู่ในสภาวะยูโทรฟิก (eutrophic state) หรืออยู่ในสภาวะที่เกิดมลพิษ เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณธาตุอาหารและปริมาณคลอโรฟิลล์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
Jarernpornnipat, A., Pedersen, O., Jensen, K. R., Boromthanarat, S., Vongvisessomjai, S., & Choncheanchob, P. (2003). Sustainable management of shellfish resources in Bandon Bay, Gulf of Thailand. Journal of Coastal Conservation, 9, 135-146.
Sunda, W. G., & Huntsman, S. A. (2004). Relationships among photoperiod, carbon fixation, growth, chlorophyll a and cellular iron and zinc in a coastal diatom. Limnology and Oceanography, 49, 1742-1753.
Wu, R. S. S. (1999). Eutrophication, water borne pathogens and xenobiotic compounds: Environmental risks and challenges. Marine Pollution Bulletin, 39, 11-22.
Gray, J. S., Wu, R. S., & Or, Y.Y. (2002). Effects of hypoxia and organic enrichment on the coastal marine environment. Marine Ecology Progress Series, 238, 249-279.
James, K. J., Carey, B., O’Halloran, J., van Pelt, F. N. A. M., & Škrabáková, Z. (2010). Shellfish toxicity: Human health implications of marine algal toxins. Epidemiology and Infection, 138, 927-940.
Hallegraeff, G. M. (2004). Harmful algal blooms: A global overview (pp. 25-49). In Hallegraeff, G. M., Anderson, D. M., & Cembella, A. D. (eds). Manual on Harmful Marine Microalgae. UNESCO. Paris.
Luckas, N. B., Dahlmann, J., Erler, K., Gerdts, G., Wasmund, N., Hummert, C., & Hansen, P.D. (2005). Overview of key phytoplankton toxins and their recent occurrence in the North and Baltic Seas. Environmental Toxicology, 20, 1-17.
Strickland, J. D. H., & Parsons, T. R. (1972). A Practical Handbook of Seawater Analysis. Bulletin of Fisheries Research Board of Canada.
Forsberg, C., & Ryding, S.-O. (1980). Eutrophication parameters and trophic state indices in 30 Swedish waste receiving lakes. Archiv fur Hydrobiologie, 89, 189-207.
OECD. (1984). Eutrophication of waters. Monitoring, assessment and control. International Review of Hydrobiology, 69, 149-296.
พิชาศิษฐ์ แสงเมฆ และรฐานิษฐ์ สุขธนาภิรัตน์. (2563). โครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำที่เกี่ยวข้องหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ พ.ศ. 2560: กรณีศึกษาหนองหาร จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25, 1035-1051.
Moncheva, S., Gotsis-Skretas, O., Pagou, K., & Krastev, A. (2001). Phytoplankton blooms in Black Sea and Mediterranean coastal ecosystems subjected to anthropogenic eutrophication: Similarities and differences. Estuarine, Coastal and Shelf Science, 53, 281-295.
Howarth, R., Sharpley, A., & Walker, D. (2002). Sources of nutrient pollution to coastal waters in the United States: Implications for achieving coastal water quality goals. Estuaries, 25, 656-676.
Kaewnern, M., & Yakupitiyage, A. (2008). Contribution of mollusc culture to control eutrophication in the coastal bay: a case study of Bandon Bay, Surat Thani, Thailand. Journal of Fisheries and Environment, 32, 1-18.
Thongdonphum, B., Meksumpun, S., & Meksumpun, C. (2011). Nutrient loads and their impacts on chlorophyll a in the Mae Klong River and estuarine ecosystem: An approach for nutrient criteria development. Water Science and Technology, 64, 178-188.
ประเดิม อุทธยานมณี, ศิริพร ประเดิษฐ์, และสมหมาย เชี่ยววารีสัจจะ. (2555). ปัญหา ผลกระทบ และการจัดการปัญหาคุณภาพน้ำบริเวณปากแม่น้ำตาปี และอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี (หน้า 1008-1014). ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุสยา ปล้องอ่อน, จินตนา สและน้อย, ชัชรี แก้วสุรลิขิต, ไพลิน จิตรชุ่ม, Takashi Yoshikawa, Yuki Okamoto, Satoshi Ishikawa, และ Kazuya Watanabe. (2559). การแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24, 588-597.
Thongdonphum, B., Meksumpun, S., Meksumpun, C., Thawonsode, N., & Sawasdee, B. (2014). Variation of important nutrients proportion on phytoplankton distribution in Bang-tabun Bay, Phetchaburi Province, Thailand. International Journal of Environmental and Rural Development, 5, 100-104.
ประเดิม อุทธยานมณี. (2560). คุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำ อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมมนาวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
Xu, H., Zhang, Y., Zhu, X., & Zheng, M. (2019). Effects of rainfall-runoff pollution on eutrophication in coastal zone: A case study in Shenzhen Bay, southern China. Hydrology Research, 50, 1602-1075.
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่องกําหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล เล่ม 134 ตอนพิเศษ 288 ง. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
Sun, J., Wai, O.W.-H., Wang W., Lei, L., & Mao, X. (2010) Changes and eutrophication characteristics of nitrogen and phosphorus nutrients in Shenzhen Bay. Journal of Peking University (Natural science edition), 46, 960-964.