การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดินของพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรทุเรียนพื้นบ้านคลองแสง และยางพารา อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเข้าใจเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดินของระบบนิเวศเกษตรภาคใต้ยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงได้ทำการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศเกษตรทุเรียนพื้นบ้าน (Durio zibethinus) และยางพารา (Hevea brasiliensis) อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวอย่างดินเก็บด้วยวิธีรบกวนและไม่รบกวนโครงสร้างดินโดยสุ่มตัวอย่างดินจำนวน 3 สถานีในแต่ละพื้นที่ที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร ในเดือนกรกฎาคมและกันยายน 2565 เพื่อศึกษาสมบัติของดินทางกายภาพและทางเคมี ได้แก่ ความหนาแน่นรวมของดิน เนื้อดิน pH และคาร์บอนอินทรีย์ในดิน ผลการศึกษาพบว่า เนื้อดินในแปลงทุเรียนพื้นบ้านเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ความหนาแน่นรวมของดินอยู่ในช่วง 0.97-1.10 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร pH ดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัดมาก (4.62- 5.96) การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์และอินทรียวัตถุในดินมีค่าอยู่ในช่วง 23.40-72.66 กรัมคาร์บอน/ตารางเมตร และร้อยละ 1.11-3.31 ตามลำดับ ขณะที่แปลงยางพาราเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง pH เป็นกรดจัดถึงกรดจัดมาก (4.60-5.39) ความหนาแน่นรวมอยู่ในช่วง 1.24-1.34 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์และอินทรียวัตถุในดินอยู่ในช่วง 17.21-46.90 กรัมคาร์บอน/ตารางเมตร และ ร้อยละ 0.84-2.10 ตามลำดับ คาร์บอนอินทรีย์ในดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความชื้นดิน (P<0.01; R=0.45) pH (P<0.01; R=0.49) อนุภาคทราย (P<0.05; R=0.68) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอนุภาคทรายแป้ง (P<0.05; R=-0.68) และดินเหนียว (P<0.01; R=-0.82) แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับความหนาแน่นรวมและการนำไฟฟ้าของดิน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
Duan, Z. (2023). Impact of climate change on the life cycle greenhouse gas emissions of cross-laminated timber and reinforced concrete buildings in China. Journal of Cleaner Production, 395, 136446.
Huangpeng Q., Huang, W., & Gholinia, F. (2021). Forecast of the hydropower generation under influence of climate change based on RCPs and developed crow search optimization algorithm. Energy Reports, 7, 385-397.
Ministry of Natural Resources and Environment. (2020). Policy Formulation and National Focal Point. Thailand Third Biennial Update Report [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://unfccc.int/sites/default/files/resource/BUR3_Thailand_251220%20.pdf (30 พฤศจิกายน 2565).
Eswaran, H., Berg, E. V. D., & Reich, P. F. (1993). Organic carbon in soils of the world. Soil Science Society of America Journal, 57, 193-194.
Paustian, K., Larson, E., Kent, J., Marx, E., & Swan, A. (2019). Soil C sequestration as a biological negative emission strategy. Frontiers in Climate, 1, 8.
Jacobs, G. K., Dahlman, R. C., & Metting, F. B. (2001). Carbon sequestration in terrestrial ecosystems: A status report on R&D Progress. In Proceedings of the First National Conference on Carbon Sequestration. Washington, D.C.
วรพัชร วิชัยสุชาติ, สมนิมิตร พุกงาม, ปิยพงษ์ ทองดีนอก, นฤมล แก้วจำปา, และรจนา ตั้งกุลบริบูรณ์. (2561). การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนในดินบริเวณพื้นที่ป่าชนิดต่าง ๆ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(4), 61-77.
อุเทน จันละบุตร, และ ภูวดล โกมณเฑียร (2559). ปริมาณคาร์บอนสะสมในดินในพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำชีตอนกลาง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(1), 79-88.
ภาวิณี อ๋องสุวรรณ. (2559). การสะสมอินทรียคารบอนในดินสวนยางพาราและดินสวนปาลมน้ำมัน กรณีศึกษาเทศบาลตําบล จ.ป.ร. อําเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พุทธรักษ์ วงศ์สิริชัย, สุภัทรา ถึกสถิตย์, นฤมล แก้วจำปา, และ รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์. (2562). ผลของการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการกักเก็บคาร์บอนในดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยห้วยหินดาด จังหวัดระยอง. วารสาร
วนศาสตร์, 38(2), 83-97.
Benbi, D. K., & Chand, M. (2007). Quantifying the effect of soil organic matter on indigenous soil N supply and wheat productivity in semiarid sub-tropical India. Nutrient Cycling in Agroecosystems, 79, 103-112.
Rasool, R., Kukul, S.S. , & Hira, G.S. (2008). Soil organic carbon and physical properties as affected by long-term application of FYM and inorganic fertilizers in maize–wheat system. Soil and Tillage Research, 101, 31-36.
Lal, R. (1999). Soil management and restoration for C sequestration to mitigate the accelerated greenhouse effect. Progress in Environmental Science, 1(4), 307-326.
Wright, J. T., Marcy, G. W., Fischer, D. A., Butler, R. P., Vogt, S. S., Tinney, C. G., Jones, H. R., Carter, B. D., Johnson, J. A., McCarthy, C., & Apps, K. (2007). Four new exoplanets and hints of additional substellar companions to exoplanet host stars. The Astrophysical Journal, 657, 533-545.
วัชรี รวยรื่น, นรานันท์ ขำมณี, และ พงศักดิ์ นพรัตน์. (2022). การผลิตและคุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในสวนวนเกษตร (หน้า rspg028). ใน การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงาน ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10. นครศรีธรรมราช.
ทิชา โลลุพิมาน, กาญจนา นาคะภากร, อัจฉรา อัศวรุจกุลชัย, สิริกร กาญจนสุนทร, สุเพชร จิรขจรกุล. (2559). การประเมินการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของสวนยางพาราโดยการประยุกต์เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล กรณีศึกษา จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(6), 914-926.
Wynn, J. G., Bird, M. I., & Wong, V. N. L. (2004). Rayleigh distillation and the depth profile of 13C/12C ratios of soil organic carbon from soils of disparate texture in Iron Range National Park, Far North Queensland, Australia. Geochimica et Cosmochimica Acta, 69, 1961-1973.
Blake, G. R., & Hartage., K. H. (1986). Bulk Density (pp 363-375). In Klute, A. (eds). Methods of Soil Analysis part I Physical and Mineralogical Methods. USA: Agronomy Monograph, Madison.
Soil Survey Staff. (1996). Soil survey laboratory methods manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. USDA, Washington DC.
Walkley, A., & Black, A. (1934). An examination of the Degiareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science, 37, 29-28.
Guo, L. B., & Gifford, R. M. (2002). Soil carbon stocks and land use change: a meta-analysis. Global Change Biology, 8, 345-360.
Kowalenko, C. G., Ivarson, K. C., & Cameron, D. R. (1978). Effect of moisture content, temperature, and nitrogen fertilization on carbon dioxide evolution from field soils. Soil Biology and Biochemistry, 10, 417-423.
Feiziene, D., Feiza, V., Vaideliene, A., Povilaitis, V., & Antanaitis, S. (2010). Soil surface carbon dioxide exchange rate as affected by soil texture, different long term tillage application and weather. Agriculture, 97(3), 25-42.
Galdos, M. V., Cerri, C. C., & Cerri, C. E. P. (2009). Soil carbon contents under burned and unburned sugarcane in Brazil. Geoderma, 153, 347-352.
ระวี เจียรวิภา, สุรชาติ เพชรแก้ว, มนตรี แก้วดวง, และ วิทยา พรหมมี. (2555). การประเมินการเก็บกักคาร์บอนและรายได้จากการชดเชยคาร์บอนในสวนยางพารา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 17(2), 91-102.
Lei, Z., Yu, D., Zhou, F., Zhang, Y., Yu, D., Zhou, Y., & Han, Y. (2019). Changes in soil organic carbon and its influencing factors in the growth of Pinus sylvestris var. mongolica plantation in Horqin Sandy Land, Northeast China. Scientific Reports, 9, 16453.
Hongix, L., Blagodatsky, S., Giese, M., Liu, F., Xu, J., & Cadisch, G. (2016). Impact of herbicide application on soil erosion and induced carbon loss in a rubber plantation of Southwest China. Catena, 145, 180-192.
ณัทธิยา ชำนาญค้า. (2564). การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดินตะกอนพื้นบ่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(2), 296-306.