ระบบควบคุมโรงเรือนและการให้น้ำแปลงหญ้าอัจฉริยะสำหรับฟาร์มโคเนื้อ

Main Article Content

วาสนา วงศ์ษา
ศรัญญา ตรีทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมโรงเรือนและการให้น้ำแปลงหญ้าอัจฉริยะสำหรับฟาร์มโคเนื้อและทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์แอนดรอยด์สำหรับสั่งงานชุดอุปกรณ์ผ่านสมาร์ทโฟน การออกแบบระบบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ระบบควบคุมโรงเรือนโคเนื้อประกอบด้วย NodeMCU esp8266 เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์รุ่น AM2302 วัดค่าและส่งข้อมูลไปยังคลาวด์เซิร์ฟเวอร์เพื่อแสดงกราฟแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายไร้สาย 4G และควบคุมการทำงานของเครื่องพ่นละอองหมอกและพัดลมเพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน และ 2) ระบบควบคุมการให้น้ำแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์แคระโดยใช้เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดินรุ่น X-SM01 อ่านข้อมูลไปประมวลผลด้วย NodeMCU esp8266 เพื่อควบคุมรีเลย์สั่งงานเปิด ปิดปั๊มน้ำและโซลินอยด์วาล์ว โดยทดสอบประสิทธิภาพในโรงเรือนของวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคเนื้อตำบลนายม จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่าสามารถบันทึกข้อมูลสถิติอุณหภูมิและความชื้นได้แบบอัตโนมัติ เมื่อทดสอบทำการพ่นละอองหมอกเป็นเวลา 3 นาที ค่าอุณหภูมิโรงเรือนลดลงเฉลี่ย 0.39 °C และความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.47 %RH ระบบควบคุมการให้น้ำแปลงหญ้าอัตโนมัติสามารถทำงานได้ถูกต้องทุกโหมดควบคุม สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนสถานะการทำงานไปยังโปรแกรมประยุกต์ไลน์ของผู้ใช้งานได้

Article Details

How to Cite
วงศ์ษา ว., & ตรีทศ ศ. (2023). ระบบควบคุมโรงเรือนและการให้น้ำแปลงหญ้าอัจฉริยะสำหรับฟาร์มโคเนื้อ. วารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต, 7(2), 1–11. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/250364
บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร. (2545). ผลของความเครียดจากสภาพอากาศร้อนต่อประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง.วารสารเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 18(2), 148-156.

ประภาส เริงรื่น. (2546). การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติในโรงเรือนปศุสัตว์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ณัชวิชญ์ ติกุล, และสุวิทย์ ประชุม. (2563). ผลกระทบจากรูปแบบโรงเรือนและสภาพแวดล้อมต่อความสบายของโคในฟาร์มรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 293-306.

Boonsanita, D., Chanpongsangb, S., & Chaiyabutr, N. (2011). Effects of supplemental recombinant bovine somatotropin andmist-fan cooling on the renal tubular handling of sodium in different stages oflactation in crossbred Holstein cattle. Research in Veterinary Science, 93(1), 417-426.

นภาพร เวชกามา ธีระรัตน์ ชิณแสน, และวันทนีย์ พลวิเศษ. (2560). การผลิตและการจัดการโคเนื้อแบบขังคอกและแบบปล่อยฝูงของเกษตรกร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารแก่นเกษตร, 45(ฉบับพิเศษ1), 1476-1482.

กรมปศุสัตว์. (2545). หญ้าเนเปียร์. กองอาหารสัตว์. [ออนไลน์], สืบค้นจาก http://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/information1/39.pdf (10 กรกฎาคม 2563).

LINE Corporation. (2562). Messaging API. [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://developers.line.biz/en/services/messaging-api/ (10 มีนาคม 2563).

Tresoldi, G., Schutz, K. E., & Tucker, C. B. (2018). Cooling cows with sprinklers: Spray duration affects physiological responses to Heat Load. Journal of Dairy Science, 101(5), 4412-4423.

วิษณุ ช้างเนียม, และวริษา สินทวีวรกุล. (2562). เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มไก่ไข่ด้วยการใช้แอปพลิเคชันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนด้วยระบบฟัซซีลอจิก. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 5(2), 77-88.

Fournel, S., Ouellet, V., & Charbonneau, É. (2017). Practices for Alleviating Heat Stress of Dairy Cows in Humid Continental Climates: A Literature Review. Animals: an open access journal from MDPI, 7(5), 37.

Sadiku, M. N. O., Ashaolu, T. J., Ajayi-Majebi, A., & Musa, S. M. (2020). Smart Farming. International Journal of Scientific Advances, 1(3), 133-134.