การศึกษาความคิดเห็นต่อการเลือกซื้อประกันสุขภาพด้วยการวิเคราะห์แบบริดิท
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ที่มีผลต่อความคิดเห็นในการเลือกซื้อประกันสุขภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบริดิทและวิธีการใช้ค่าเฉลี่ย เนื่องจากข้อมูลความคิดเห็นในการเลือกซื้อประกันสุขภาพอยู่ในรูปแบบของมาตรวัดลิเคิร์ทที่มีมาตรวัดแบบมาตราอันดับ วิธีการวิเคราะห์แบบริดิทจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้วิเคราะห์และจัดลำดับความคิดเห็นในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาเบี้ยประกันที่มีความเหมาะสม เป็นความคิดเห็นที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันสุขภาพในลำดับแรก รองลงมาเป็นความคิดเห็นที่อยู่ในด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การที่บริษัทมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ รูปแบบของประกันสุขภาพมีรายละเอียดชัดเจนและเข้าใจง่าย และรูปแบบของประกันสุขภาพตอบโจทย์ความต้องการ การนำการวิเคราะห์แบบริดิทมาใช้ในการศึกษาความคิดเห็นต่อการเลือกซื้อประกันสุขภาพในงานวิจัยนี้สามารถสรุปและจัดลำดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกซื้อประกันสุขภาพเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
Chambers E. and Smith E.A. (1991). The uses of qualitative research in product research and development. In: Lawless H.T. and Klein B.P.(eds), Sensory Science Theory and Application in Foods. London: Blackie Academic and Professional. Pp.395-412.
Lasless H.T. and Heymam H. (1998). Sensory Evaluation of Food. Principles and Practices. New York: Chapman and Hall.
Carifio J., and Perla, R. (2008). Resolving the 50-year debate around using and misusing Likert scales. Medical Education, 42(12), 1150-1152.
Agresti A. (2010). Analysis of Ordinal Categorical Data. 2nd edn. New York: Wiley.
Carifio, J. and Perla, R.J. (2007). Ten common misunderstandings, misconceptions, persisten myths and urban legends about Likert scales and Likert response formats and their antidotes. Journal of Social Sciences, 3(3), 106-116.
Kuzon, W.M.Jr., Urbanchek, M.G., and McCabe, S. (1996). The seven deadly sins of statistical analysis. Annals of Plastic Surgery, 37(3), 265-272.
Bross. I.D. (1958). How to Use Ridit Analysis. Biometrics, 14(1): 18-38.
Dogan I. and Dogan N. (2007). A review on the Ridit analysis. TURKSTAT, Journal of Statistical Research, 5(2): 69-77.
Schnell D.J., Magee E. and Sheridan J.R. (1995). A regression method for analyzing ordinal data from intervention trials. Statistics in Medicine, 14: 1177-1189.
ธันยาภัทร์ สร้อยสนธิ์, นิธิประภา อินเต็ง และนายิกา กุลคำวัฒนะ. (2564). การวิเคราะห์รูปแบบ ผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่ายประกันสุขภาพในอนาคต. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาการประกันภัย สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
Harpe, E.S. (2015). How to analyze Likert and other rating scale data. Currents in Pharmacy Teaching and Learning, 7: 836 – 850.
Gray, V.J., Helper, S. and Osborn B., (2020). Value first, cost later: Total value contribution as a new approach to sourcing decisions. Journal of Operations Management, 66: 735 – 750.