ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบี โดยการรณรงค์ให้ความรู้

Main Article Content

อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์เสถียรภาพของตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบีโดยการรณรงค์ให้ความรู้ในจังหวัดภูเก็ต วิเคราะห์ตัวแบบโดยใช้วิธีมาตรฐาน ศึกษาจุดสมดุล ศึกษาเสถียรภาพของจุดสมดุล หาคำตอบเชิงวิเคราะห์ ศึกษาอัตราการรณรงค์ให้ความรู้การแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบีในตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ และหาคำตอบเชิงตัวเลข จากการพัฒนาตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ได้ระบบสมการเชิงอนุพันธ์แบบไม่เชิงเส้นจำนวน 4 สมการ จุดสมดุลที่มีโรค จุดสมดุลที่ไม่มีโรค และค่าระดับการติดเชื้อ นอกจากนี้ พบว่าอัตราการรณรงค์ให้ความรู้การแพร่ระบาดของโรคตับอักเสบบีเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าระดับการติดเชื้อของตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ซึ่งถ้าอัตราการรณรงค์ให้ความรู้มีค่ามากขึ้นจะส่งผลให้ค่าระดับการติดเชื้อลดลง และยังพบว่าถ้าประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมีความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคตับอักเสบบีน้อย จะส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
จิรวัฒนพาณิช อ. (2021). ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสตับอักเสบบี โดยการรณรงค์ให้ความรู้. วารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต, 5(2), 1–16. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/244495
บท
บทความวิจัย

References

ธีรวัฒน์ นาคะบุตร. (2546). ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏนครปฐม.

อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช, อนุรักษ์ วีระประเสริฐสกุล, สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย, และจุฬาลักษณ์ ใจอ่อน. (2559). ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ SEIR สำหรับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอีสุกอีใสโดยการรณรงค์ให้ความรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 254-275.

Naowarat, S., Tawarat, W., & Tang, I. M. (2011). Control of the Transmission of Chikungunya Fever Epidemic Through the use of Adulticide. Science Publication, 6, 558-565.

สุรพล เกาะเรียนอุดม. (2561). การตรวจวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบีและซี. วารสารโรคเอดส์, 30(3), 113-128.

ภัทรธิดา สงวนหมู่. (2556). การจำแนกทางพันธุกรรมของไวรัสตับอักเสบบีที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิตย์ อันยงค์. (2558). ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์สำหรับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยใช้การรณรงค์ให้ความรู้ กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัย. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Sangthongjeen, S., Sudchumnong A., & Naowarat, S. (2015). Effect of Educations Campaign on Transmission Model of Conjunctivitis. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 9(7), 811-815.

Kermack, W. O., & McKendrick, A. G. (1927). A Contribution to the Mathematical Theory of Epidemics. The Royal Society of London, 115, 700-721.

Van den Driessche, P., & Watmough, J. (2002). Reproductive numbers and sub-threshold endemic equilibria for compartment models of disease transmission. Mathematical Biosciences, 180, 29-48.

Anderson, R. M., & May, R. M. (1991). Infectious diseases of humans: dynamics and control (1st edition). United Kingdom: Oxford University Press.

Brauer, F., Driessche, P., & Wu, J. (2008). Mathematical Epidemiology (1st edition). Canada: Springer-Verlag Berlin Heidelberg.

อรวรรณ ตันสุย, และพันธนี พงศ์สัมพันธ์. (2556). แบบจำลองการระบาดของโรคอีสุกอีใสในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 22(1), 39-52.