เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดวารสารหนึ่งมาก่อน
  • ผู้เขียนต้องเขียนต้นฉบับตามรูปแบบของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
  • ต้นฉบับที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อการพิจารณาต้องไม่อยู่ระหว่างเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • เนื้อหาในต้นฉบับควรเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้นโดยผู้เขียนเอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม
  • กรณีที่มีการวิจัยในสัตว์หรือในมนุษย์ ต้นฉบับที่จะได้รับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องแสดงข้อมูลการรับรองการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์หรือการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ไว้ในส่วนของวิธีดำเนินการวิจัย
  • ผลการประเมินต้นฉบับ มี 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 ระดับการแก้ไข แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ไม่มีการแก้ไข แก้ไขน้อย แก้ไขปานกลาง และแก้ไขมาก
    ส่วนที่ 2 ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิต่อการตีพิมพ์เผยแพร่ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ตีพิมพ์เผยแพร่โดยไม่มีการแก้ไข แก้ไขก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ เขียนใหม่ก่อนตีพิมพ์เผยแพร่ และไม่ควรตีพิมพ์เผยแพร่
    ในการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต จะพิจารณาผลจากการประเมินในส่วนที่ 2 ซึ่งต้นฉบับนั้นต้องได้รับผลการประเมินตีพิมพ์เผยแพร่โดยไม่มีการแก้ไข หรือแก้ไขก่อนตีพิมพ์เผยแพร่เท่านั้น จึงจะได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ (Accepted)
  • เมื่อได้รับผลการอ่านประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้เขียนต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) และชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าวมายังกองบรรณาธิการ หลังจากผู้เขียนได้แก้ไขต้นฉบับแล้ว กองบรรณาธิการจะทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
  • กองบรรณาธิการจะทำการจัดส่งวารสารฉบับร่าง (In Press) ไปยังผู้เขียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนตีพิมพ์เผยแพร่
  • วารสารมีค่าค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นเงิน 5,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 จำนวน 3,500 บาท ชำระเมื่อได้รับการพิจารณาเชิงคุณภาพเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ และ ครั้งที่ 2 จำนวน 1,500 บาท ชำระเมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการเห็นชอบให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต (หมายเหตุ ในกรณีที่บทความของผู้นิพนธ์ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิหรือจากการตัดสินใจของบรรณาธิการหรือกรณีอื่นใด หรือเกิดจากบทความบกพร่องของผู้นิพนธ์ ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าธรรมเนียม)
  • จำนวนหน้า บทความต้นฉบับมีความยาวอยู่ระหว่าง 10-12 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง

กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน

        วารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต มีการจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับแรก มกราคม - มิถุนายน ฉบับที่สอง กรกฎาคม - ธันวาคม) โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานจัดทำวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ดังต่อไปนี้

1. ผู้เขียนส่งบทความต้นฉบับได้ตลอดทั้งปี

2. กองบรรณาธิการตรวจสอบความสมบูรณ์ ความถูกต้อง และคุณภาพของบทความต้นฉบับ

3. กองบรรณาธิการเตรียมต้นฉบับจัดส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินบทความ

4. กองบรรณาธิการส่งต้นฉบับที่ปรับแก้ไขแล้วพร้อมสรุปผลการประเมินคุณภาพต้นฉบับ

5. ผู้เขียนเพื่อปรับแก้ไข และชี้แจงการปรับแก้ไขกลับมายังกองบรรณาธิการ

6. กองบรรณาธิการตรวจสอบการปรับแก้ไข ความถูกต้อง และรูปแบบการเขียนต้นฉบับ

7. กองบรรณาธิการออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ และเผยแพร่ต้นฉบับดังกล่าว ผ่านทางเว็บไชต์

8. กองบรรณาธิการ ดำเนินการรวบรวมต้นฉบับที่จะตีพิมพ์และตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งโรงพิมพ์เพื่อจัดทำวารสารฉบับร่าง

9. กองบรรณาธิการตรวจสอบวารสารฉบับร่างจากโรงพิมพ์ และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ โดยแสดงสถานะอยู่ระหว่างการตีพิมพ์ (In Press) และจัดส่งวารสารต้นฉบับให้ผู้เขียนเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

10. กองบรรณาธิการดำเนินการเผยแพร่วารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต

การเตรียมต้นฉบับ

1. การตั้งค่าหน้ากระดาษของบทความต้นฉบับ ใช้ขนาด B5 โดยระยะห่างของขอบกระดาษด้านบนและด้านซ้าย 1.2 นิ้ว ด้านล่างและด้านขวา 0.7 นิ้ว

2. ต้นฉบับจัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ เนื้อหาหลักใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดชิดขอบกระดาษทั้งสองด้าน

3. เนื้อหาเป็นภาษาไทยเท่านั้น ควรแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด ในกรณีที่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน 

4. หัวข้อหลัก ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย

5. หัวข้อย่อย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลขตำแหน่ง ให้ Tab 0.75 เซนติเมตรจากอักษรตัวแรกของหัวข้อหลัก

6. หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน

7. ท้ายกระดาษ ประกอบด้วย เลขหน้า ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาล่าง

8. รูปภาพและตารางควรวางใกล้กับตำแหน่งที่ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก โดยขนาดของรูปภาพควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 pixel (บันทึกเป็น .png .gif หรือ .tif) และแนบไฟล์ต้นฉบับของรูปแยกมาด้วย

ส่วนประกอบของต้นฉบับ

1. ชื่อเรื่องภาษาไทย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด (ไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร)

2. ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด โดยขึ้นต้นทุกคำด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่ยกเว้นคำบุพบท

3. ชื่อผู้แต่ง ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้ชื่อเรื่อง ให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) กำหนดเป็นตัวยก กำกับท้ายนามสกุล ของผู้ประสานงานหลัก

4. หน่วยงานหรือสังกัดที่ทำวิจัย ต้องเขียนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวเอียง ตำแหน่ง กึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อผู้เขียน ให้ใส่ตัวเลขยกกำกับท้ายนามสกุล และ ด้านหน้าหน่วยงานหรือสังกัด

5. เชิงอรรถ กำหนดเชิงอรรถในหน้าแรกของบทความ ให้ใส่เครื่องหมายดอกจันตามด้วยข้อความ ดังนี้ *ผู้ประสานงานหลัก (Corresponding Author) โดยใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา และระบุ E-mail: โดยใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวเอียง

6. หัวข้อบทคัดย่อภาษาไทย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ที่อยู่/หน่วยงานสังกัดของผู้เขียน เนื้อหาบทคัดย่อไทย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น Tab 1 เซนติเมตร จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน (ควรเขียนสรุปสาระสำคัญความยาวไม่เกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด)

7. หัวข้อคำสำคัญภาษาไทย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้บทคัดย่อภาษาไทย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ไม่เกิน 4 คำ เว้นระหว่างคำด้วยการเคาะ 1 ครั้ง

8. หัวข้อบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้ายใต้ที่อยู่/หน่วยงานสังกัดของผู้เขียน เนื้อหาบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น Tab 1 เซนติเมตร จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน (ควรเขียนสรุปสาระสำคัญความยาวไม่เกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด)

9. หัวข้อคำสำคัญภาษาอังกฤษ (Keyword) ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ชนิดตัวธรรมดา ไม่เกิน 4 คำ เว้นระหว่างคำด้วย Comma “,”

10. บทนำ บอกถึงที่มานำไปสู่การศึกษาวิจัย รวมถึงการอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

11. วัตถุประสงค์ ชี้แจงจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

12. วิธีดำเนินการวิจัย ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่มาของกลุ่มตัวอย่าง แหล่งที่มาของข้อมูล การเก็บและรวบรวมข้อมูล การใช้เครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล

13. ผลการวิจัย ควรนำเสนอสิ่งที่ได้จากการศึกษา ในรูปแบบตาราง กราฟ หรือแผนภาพ ทั้งนี้ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้นขอบตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดาไม่มีสี ไม่ควรมีเกิน 5 ตาราง สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพที่ชัดเจน (ความละเอียดอย่างน้อย 300 pixel) และมีคำบรรยายใต้รูป (ดัง Template) กรณีที่ผู้เขียนต้นฉบับประสงค์จะใช้ภาพสีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว

14. อภิปรายผลการวิจัย ควรมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ และควรอ้างทฤษฎีหรือเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการนำผลไปใช้ประโยชน์ และการให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต

15. สรุปผลการวิจัย ควรให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และระเบียบวิธีการวิจัย

16. กิตติกรรมประกาศ ควรกล่าวถึงแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยอย่างกระชับ

17. เอกสารอ้างอิง ชิดขอบซ้าย เนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ TH SarabunPSK ขนาด 14 pt ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชื่อผู้เขียนชิดขอบซ้ายหากยาวเกิน 1 บรรทัด ให้ตัวอักษรในบรรทัดถัดไปตรงกับตัวอักษรแรกของชื่อในบรรทัดแรก การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามแบบ APA (American Psychological Association) โดย

        17.1 การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ให้ใส่เลขลำดับการอ้างอิงอยู่ในวงเล็บ […] เช่น แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาและแบ่งการเคลื่อนที่ของแผ่นโลกออกเป็น 3 แบบ คือ การชนกัน การแยกจากกัน และแบบรอยเลื่อน [1]

        17.2 การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความให้เรียงลำดับรายการตามการอ้างอิงในบทความ ไม่ใช่ตามตัวอักษรของรายการที่อ้างอิง

        17.3 ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ระหว่างผู้แต่งแต่ละคนและให้ใช้คำว่า “และ” นำหน้าผู้แต่งคนสุดท้ายในกรณีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือใช้ “&” นำหน้าผู้แต่งคนสุดท้ายในกรณีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ  กรณีชื่อผู้แต่งชาวไทย: ชื่อและนามสกุลเต็ม  กรณีชื่อผู้แต่งชาวต่างประเทศ: นามสกุล, ตัวอักษรย่อของชื่อต้นและชื่อกลาง

        17.4 ปีที่พิมพ์อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บ (...) หากอยู่ในระหว่างการพิมพ์ ให้ใช้ “(อยู่ระหว่างการพิมพ์)” ในกรณีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย หรือใช้ “(in press)” ในกรณีเอกสารอ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษ

        17.5 ชื่อเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะคำแรก อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องย่อยและ/หรือชื่อเฉพาะ (ถ้ามี) ใช้อักษรตัวเอียงในการพิมพ์

        17.6 เอกสารอ้างอิงทุกรายการ ต้องแนบลิงค์ และ/หรือ เลข DOI ที่สามารถค้นเจอเอกสารอ้างอิงดังกล่าวในอินเตอร์เน็ต 

ตัวอย่างการอ้างอิง

1) บทความวารสารวิชาการ

[…] ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร.

[1] นรภัทร น้อยหลุบเลา, และชวิศร ปูคะภาค. (2559). การพัฒนากังหันเติมอากาศโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(2), 141-149. https://thaiscience.info/Journals/Article/JSMU/10981448.pdf

[2] Lu, Y., & Larock, R. C. (2011). Synthesis and properties of grafted latices from a soybean oil-based waterborne polyurethane and arylics. Journal of Applied Polymer Science, 119, 3305-3314. https://doi.org/10.1002/app.29029

2) หนังสือ

[…] ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

[1] บพิธ จารุพันธุ์, และนันทพร จารุพันธุ์. (2558). สัตววิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/result/185341

[2] Hickman, C. P. Jr., Roberts, L. S., Keen, S. L., Eisenhour, D. J., Larson, A., & l'Anson, H. (2014). Integrated principles of zoology (16th edition). New York: McGraw-Hill. https://searchworks.stanford.edu/view/11655995

3) รายงานการวิจัย

[…] ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). สถานที่พิมพ์: ชื่อหน่วยงานหรือสังกัด.

[1] ฐิตาภรณ์ ภูมิไชย์, กฤษดา สังข์สิงห์, และ เฉลิมพล ภูมิไชย์. (2557). การศึกษาลักษณะทางกายภาพของสมบัติไม้ยางพารา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. https://tarr.arda.or.th/preview/item/LhNK_pfW06t4QnB7XYej7?isAI=true

4) วิทยานิพนธ์

[…] ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี/มหาบัณฑิต หรือ Doctoral/Master’s thesis). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

[1] พรรณี สอาดฤทธิ์. (2545). ความหลากหลายและการแพร่กระจายของคลาโดเซอราในแหล่งน้ำจืด จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/3212

5) เว็ปไซต์

[…] ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. [ออนไลน์], สืบค้นจาก ระบุ URL ของเว็บไซต์ (วัน เดือน ปีที่สืบค้น).

[1] สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน. (2562). องค์ความรู้เกี่ยวกับแมงกะพรุนพิษในประเทศไทย. [ออนไลน์], สืบค้นจาก https://km.dmcr.go.th/th/c_247/d_14183 (6 พฤศจิกายน 2562).

 

ดาวน์โหลดไฟล์ Template

บทความวิจัย: https://researchscience.pkru.ac.th/download/category/8-template-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2.html