การพัฒนาระบบการตรวจนับเครื่องช่วยหายใจด้วยอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง สำหรับโรงพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบตรวจนับจำนวนเครื่องช่วยหายใจสำรองที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจในกรณีมีเหตุฉุกเฉินและช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ที่ต้องตรวจสอบจำนวนเครื่องช่วยหายใจด้วยตนเอง ระบบนี้ถูกออกแบบมาให้ตรวจนับเครื่องช่วยหายใจโดยใช้เซนเซอร์อินฟราเรดตรวจจับวัตถุซึ่งสามารถส่งข้อมูลผ่านสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายและมีการแสดงผลบนเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบจำนวนเครื่องช่วยหายใจที่เหลืออยู่ได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีระบบแจ้งเตือนผ่านไลน์แอปพลิเคชัน เมื่อเครื่องช่วยหายใจเหลือน้อยกว่าค่าที่ตั้งไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการเติมเครื่องช่วยหายใจได้ทันที ผลการทดสอบระบบพบว่าเซนเซอร์สามารถตรวจจับเครื่องช่วยหายใจได้อย่างแม่นยำคิดเป็นร้อยละ 96.67 ระบบแจ้งเตือนทำงานได้ดีโดยคิดเป็นร้อยละ 100 สำหรับการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ทางผู้วิจัยจะออกแบบการแสดงผลของเว็บไซต์ให้มีความสวยงามมากขึ้นและพัฒนาระบบการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
- ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารวิชาการ ซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต
References
(1) Gholamhosseini, L., Sadoughi, F., & Safaei, A. (2019). Hospital real-time location system (a practical approach in healthcare): A narrative review article. Iranian Journal of Public Health, 48(4), 593–602.
(2) Uslu, B. C., Okay, E., & Dursun, E. (2020). Analysis of factors affecting IoT-based smart hospital design. Journal of Cloud Computing: Advances, Systems and Applications, 9(1), 1–23.
(3) Lampropoulos, G., Siakas, K., & Anastasiadis, T. (2019). Internet of Things in the context of industry 4.0: An overview. International Journal of Entrepreneurial Knowledge, 7(1), 4–19.
(4) จุฬาวลี มณีเลิศ, พิรุฬห์ แก้วฟุ้งรังษี, ประธาน คำจินะ, และพรวนา รัตนชูโชค. (2567). การพัฒนาเครื่องตรวจวัดความชื้นและอุณหภูมิเมล็ดกาแฟด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต, 8(2), 24–38.
(5) สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล, และปานวิทย์ ธุวะนุติ. (2559). Internet of Thing เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้โปรแกรม Hadoop. วารสารวิชาการปทุมวัน, 6(15), 61–72.
(6) กรวัฒน์ ไตรวัย, ขจร ฝ้ายเทศ, และวราพรรณ อภิศุภะโชค. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 198–211.
(7) Hong, Y. R., Lawrence, J., Williams, D., Jr., & Mainous, I. A. (2020). Population-level interest and telehealth capacity of US hospitals in response to COVID-19: Cross-sectional analysis of Google search and national hospital survey data. JMIR Public Health and Surveillance, 6(2), 1–8.
(8) Abdulmalek, S., Nasir, A., Jabbar, W. A., Almuhaya, M. A. M., Bairagi, A. K., Khan, M. A., & Kee, S. H. (2022). IoT-based healthcare-monitoring system towards improving quality of life: A review. Healthcare, 10(10), 1–32.
(9) ลัดดาวัลย์ ทองเกลี้ยง. (2564). ผลการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพยุค 4.0 ในการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมด้วยปริมาตร หอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม 4 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 54–64.
(10) Saleh, N., & Salem, A. R. (2017). An automated medical equipment management system proposed for small-scale hospitals. Journal of Clinical Engineering, 42(4), 1–8.
(11) Bhan, R. K., & Dhar, V. (2019). Recent infrared detector technologies, applications, trends and development of HgCdTe based cooled infrared focal plane arrays and their characterization. Opto-Electronics Review, 27(2), 174–193.
(12) กรกนก สาระนัน, และนันทิยา ชัยบุตร. (2563). การตรวจจับและแจ้งเตือนอัตโนมัติของการล้มในห้องน้ำโดยเซนเซอร์อินฟราเรด. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 45–53.
(13) นิรมล เรืองพยุงศักดิ์. (2557). การติดตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุบนระนาบด้วยกล้องและเซนเซอร์อินฟราเรด. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 24(2), 247–256.
(14) Kumar, A., Dhanagopal, R., Albreem, M. A., & Le, D.-N. (2021). A comprehensive study on the role of advanced technologies in 5G based smart hospital. Alexandria Engineering Journal, 60(6), 5527–5536.
(15) Mariza, W. (2022). Prototype smart home dengan NodeMCU ESP8266 berbasis IoT. Jurnal Ilmiah Teknik, 1(2), 101–107.
(16) Parida, D., Behera, A., Naik, J. K., Pattanaik, S., & Nanda, R. S. (2019). Real-time environment monitoring system using ESP8266 and ThingSpeak on Internet of Things platform (pp. 225–229). In International Conference on Intelligent Computing and Control Systems (ICCS). India.