การพัฒนาแบบจำลองฐานข้อมูลคุณลักษณะของเมืองกีฬาด้วยออนโทโลยี เพื่อสนับสนุนการพิจารณาการคัดเลือกเมืองกีฬา

Main Article Content

ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง
สุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองฐานข้อมูลคุณลักษณะของเมืองกีฬา โดยใช้กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ Hozo-Ontology Editor ซอฟท์แวร์พัฒนาออนโทโลยีเพื่อสร้างแบบจำลองฐานข้อมูลคุณลักษณะของเมืองกีฬา และการประเมินผลงานวิจัยจะใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทด้วย โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน จากตารางของทาโร่ ยามาเน่ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) สมาคมกีฬา 2) การกีฬาแห่งประเทศไทย 3) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา 4) หน่วยงานภาครัฐ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.57) (1) ด้านวิธีการกำหนดตัวชี้วัด/แนวคิด/คลาส (2) ด้านการสร้างตัวอย่างข้อมูลหรือตัวแทน (3) ด้านกระบวนการกำหนดคุณสมบัติของคลาส (4) การระบุนิยาม ของขอบเขตและวัตถุประสงค์ในการพัฒนา เนื่องจากข้อมูลคุณลักษณะของเมืองกีฬาเป็นไปตามเกณฑ์มาตราฐานการพิจารณาคัดเลือกของจังหวัดบุรีรมย์ ดังนั้นแบบจำลองฐานข้อมูลคุณลักษณะของเมืองกีฬาด้วยออนโทโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้มีความถูกต้องและสอดรับนโยบายการสนับสนุนของการพิจารณาคัดเลือกเมืองกีฬาของจังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป

Article Details

How to Cite
ฝ้ายโคกสูง ป., & ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ ส. (2020). การพัฒนาแบบจำลองฐานข้อมูลคุณลักษณะของเมืองกีฬาด้วยออนโทโลยี เพื่อสนับสนุนการพิจารณาการคัดเลือกเมืองกีฬา. PKRU SciTech Journal, 3(1), 1–7. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/202483
Section
Research Articles

References

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองแผนและงบประมาณ. (2561). แผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์ 4 ปี (2561-2564). บุรีรัมย์: องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์.

สมชาย ปราการเจริญ. (2557). ออนโทโลยี: ทางเลือกของการพัฒนาฐานความรู้ในรูปแบบเชิงเนื้อหา. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Knublauch, H., Fergerson, R. W., Noy, N. F., & Musen, M. A. (2004). The Protégé OWL Plugin: An Open Development Environment for Semantic Web Applications. Lecture Notes in Computer Science, 229–243.

Benjamins, V. R., & Gomez-Perez, A. G. (2000). Knowledge-system technology: ontologies and problem-solving methods. Retrieved https://www.researchgate.net/publication/265263041_Knowledge-System_Technology_Ontologies_and_Problem-Solving_Methodsusr/richard/pdf/kais.pdf.

Soza, A. M., & Garrido, L. C. T. (2010). Web ontology language applied to the tourism sector. Prospectiva, 8(1), 87-93.

Osaka University. (2011). Hozo Ontology Editor. Retrieved from http://www.hozo.jp.

Yamane, T. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.

Obrst, L., Ceusters, W., Mani, I., & Ray, S. (2006). Semantic Web: Revolutionizing Knowledge Discovery in the Life Sciences. New York: Springer Verlag.

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิตสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ทิพวรรณ ปิ่นทองพันธ์. (2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สำหรับระบบสืบค้นสารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.