การออกแบบเครื่องประดับสุภาพสตรี โดยใช้แนวคิดการผสมผสานวัสดุในท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ชนาธินาถ ไชยภู
ชมพูนุช ชุบชูวงศ์
มณฑิตา พราหมณโชติ
ยุติกร คำแก้ว

Abstract

การออกแบบเครื่องประดับสุภาพสตรี โดยใช้แนวคิดการผสมผสานวัสดุในท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัสดุในท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต 2) ออกแบบเครื่องประดับสุภาพสตรีโดยใช้แนวคิดการผสมผสานวัสดุ และผลิตต้นแบบเครื่องประดับที่มีการผสมผสานวัสดุในท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต โดยใช้แนวคิดผสมผสานวัสดุ จากการนำวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตมาออกแบบเป็นเครื่องประดับสุภาพสตรี เพื่อเป็นการส่งเสริมวัสดุที่มีในท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต และยังเป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องประดับ แนวคิดผสมผสานวัสดุต่อไป  ผลการศึกษาวัสดุในท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ตมีหลากหลายชนิด ได้แก่ 1) ไข่มุก 2) เปลือกหอย 3) เกล็ดปลา 4) ไม้ตาล 5) ไม้สน 6) กะลา 7) ใบยาง 8) น้ำยางพารา 9) ต้นลำเจียก และ 10) ใยสับปะรด รูปแบบการออกแบบเครื่องประดับสุภาพสตรีได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมภูเก็ต จากการวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ ด้านการแต่งกายแบบเพอรานากัน และด้านสถาปัตยกรรมชิโนโปตุกีส โดยนำเอาโครงสร้าง รูปแบบ ลวดลาย และโทนสีมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งรูปแบบเครื่องประดับสุภาพสตรี ประกอบไปด้วย สร้อยคอ ต่างหูและกำไล แนวคิดรูปทรงลักษณะของหลั่นเตป๋าย หรือสร้อยคอของชาวเพอรานากัน มาเป็นแนวทางการออกแบบ ในส่วนลวดลายใช้เทคนิคการฝังเปลือกหอยมุกลงบนไม้ พู่ห้อยเลือกใช้เส้นใยที่เป็นสับปะรด 100% ในการย้อมสีเส้นใยเลือกใช้สีแดงเข้ม 50% สีเหลือง 50%  ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ในด้านความสวยงาม ค่าเฉลี่ย (x̅ = 4.10, S.D. = 0.54) มีระดับความพึงพอใจมาก สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบเครื่องประดับ โดยค่าเฉลี่ย (X = 3.91,S.D. = 0.63) มีระดับความพึงพอใจมาก สามารถนำวัสดุในท้องถิ่นมาผสมผสานอย่างเหมาะสม ค่าเฉลี่ย (x̅ = 3.65, S.D. = 0.49) มีระดับความพึงพอใจมาก รูปแบบของเครื่องประดับน่าสนใจ ค่าเฉลี่ย (x̅ = 3.60, S.D. = 0.50) มีระดับความพึงพอใจมาก สามารถผลิตได้จริง มีค่าเฉลี่ย (x̅ = 3.50, S.D. = 0.51) มีระดับความพึงพอใจมาก ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ไชยภู ช., ชุบชูวงศ์ ช., พราหมณโชติ ม., & คำแก้ว ย. (2019). การออกแบบเครื่องประดับสุภาพสตรี โดยใช้แนวคิดการผสมผสานวัสดุในท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต. PKRU SciTech Journal, 2(2), 23–29. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/182982
Section
Research Articles

References

[1] ธนกฤต ใจสุดา, วีระประวัติ เพ็งพันธุ์ และภัทรา ศรีสุโข. (2558). การออกแบบเครื่องประดับแฟชั่นจากวัสดุพลาสติกภายใต้แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design).

[2] นริศรา สารีบุตร, ปัทมาภรณ์ ชิดภักดิ์ และปิยะนุช เชื่องดี. (2559). การพัฒนาเครื่องประดับต้นแบบจากทองเหลืองตามเอกลักษณ์ท้องถิ่น กรณีศึกษาศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอ่าว ตำบลปะอ่าว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.

[3] ปัญจลักษณ์ หรีรักษ์ (2558).การออกแบบและพัฒนารูปแบบเครื่องประดับดินเผาด่านเกวียน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัยและงานสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(2).

[4] สุพัจนา ลิ่มวงศ์, และพรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2556). การออกแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบร่วมกันเพื่อเพิ่มโอกาสใช้สอยสำหรับออกงาน. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[5] วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ. (2536). ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[6] วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2544). การออกแบบและกระบวนการผลิตเครื่องประดับในสมัยกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.