ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและมวลกล้ามเนื้อของผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุในเขต เทศบาลนครภูเก็ต

Main Article Content

นิศากร ตันติวิบูลชัย
ชญานิศ ลือวานิช
ปวารณา อัจฉริยบุตร
จิตติพงศ์ สังข์ทอง
อุไรวรรณ ไกรนรา มูรานิชิ
ศุภิกา วงศ์อุทัย
อารยา ข้อค้า

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของแรงบีบมือกับมวลกล้ามเนื้อของผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครเมืองภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 112 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงาน อายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 62 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ อายุระหว่าง 60-85 ปี ทำการทดสอบแรงบีบมือด้วยเครื่องวัดแรงบีบมือและทดสอบมวลกล้ามเนื้อด้วยการวิเคราะห์ความต้านทานไฟฟ้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของแรงบีบมือ และมวลกล้ามเนื้อรวมในกลุ่มวัยทำงานสูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p < 0.05 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าแรงบีบมือข้างขวาและ ข้างซ้ายของกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมวลกล้ามเนื้อรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยในกลุ่มวัยทำงานมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (ข้างขวา r = 0.728, ซ้าย r = 0.832) และกลุ่มผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (ข้างขวา r = 0.685, ซ้าย r = 0.705) ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าแรงบีบมือที่สูงขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กับปริมาณมวลกล้ามเนื้อที่มากขึ้น และในกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงานพบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
ตันติวิบูลชัย น., ลือวานิช ช., อัจฉริยบุตร ป., สังข์ทอง จ., ไกรนรา มูรานิชิ อ., วงศ์อุทัย ศ., & ข้อค้า อ. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงบีบมือและมวลกล้ามเนื้อของผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุในเขต เทศบาลนครภูเก็ต. PKRU SciTech Journal, 2(2), 17–22. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/182973
Section
Research Articles

References

[1] มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด 999.

[2] Souza, C. F. d., Vieira, M. C. A., Nascimento, R. A. d., Moreira, M. A., Câmara, S. M. A. d., and Maciel, Á. C. C. (2017). Relationship between strength and muscle mass in middle-aged and elderly women: a cross-sectional study. Revista Brasileira de Geriatria e Gerontologia, 20(5), 660-669.

[3] Rantanen, T., Masaki, K., Foley, D., Izmirlian, G., White, L.,Guralnik, J. (1998). Grip strength changes over 27 yr in Japanese - American men. Journal of Applied Physiology, 85(6), 2047-2053.

[4] Metter, E.J., Conwit, R., Tobin, J., and Fozard, J.L. (1997). Age-associated loss of power and strength in the upper extremities in women and men. J Gerontol A Biol Sci Med Sci, 52(5), 267-276.

[5] Hoeger, W.W.K.,Hoeger, S.A. (2011). Fitness and Wellness (9 ed.). California: Wadsworth.

[6] Janssen, I., Heymsfield, S.B., Wang, Z.M., Ross, R. (2000). Skeletal muscle mass and distribution in 468 men and women aged 18-88 yr. J Appl Physiol, 89(1), 81-88.

[7] Charlier, R., Mertens, E., Lefevre, J., Thomis, M. (2015). Muscle mass and muscle function over the adult life span: a cross - sectional study in Flemish adults. Arch Gerontol Geriatr, 61(2), 161-167.

[8] Norman, K., Stobaus, N., Gonzalez, M.C., Schulzke, J.D., Pirlich, M. (2011). Hand grip strength: outcome predictor and marker of nutritional status. Clin Nutr, 30(2), 135-142.

[9] Lindle, R.S., Metter, E.J., Lynch, N.A., Fleg, J.L., Fozard, J.L., et al. (1997). Age and gender comparisons of muscle strength in 654 women and men aged 20-93 yr. J Appl Physiol, 83(5), 1581-1587.

[10] Wind, A. E., Takken, T., Helders, P. J., and Engelbert, R. H. (2010). Is grip strength a predictor for total muscle strength in healthy children, adolescents, and young adults? European Journal of Pediatrics, 169(3), 281-287.

[11] จตุรงค์ เหมรา. (2561). หลักการและการปฏิบัติการทดสอบสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[12] การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกายประชาชนไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996) จำกัด.

[13] Lauretani, F., Russo, C.R., Bandinelli, S., Bartali, B., Cavazzini, C., et al. (2003). Age-associated changes in skeletal muscles and their effect on mobility: an operational diagnosis of sarcopenia. J Appl Physiol (1985), 95(5), 1851-1860.

[14] Bohannon, R.W. (2015). Muscle strength: clinical and prognostic value of hand-grip dynamometry. Curr Opin Clin Nutr Metab Care, 18(5), 465-470.

[15] Bohannon, R.W. (2008). Hand-grip dynamometry predicts future outcomes in aging adults. J Geriatr Phys Ther, 31(1), 3-10.

[16] Cohen, J. (2009). Statistical Power Analysis for the Behavioral Science 1988 (2 ed.). New York: Psychology Press.

[17] American College of Sports Medicine. (2014). ACSM’s Guidelines for exercise testing and prescription (9 ed.). Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins.

[18] ปัทมา สุพรรณกุล. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้านสาธารณสุขด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ตระกูลไทย.

[19] Luna-Heredia, E., Martin-Pena, G., and Ruiz-Galiana, J. (2005). Handgrip dynamometry in healthy adults. Clin Nutr, 24(2), 250-258.

[20] สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ออฟเซ็ท เพลส จำกัด.