โอกาสการเกิดระยะแห้งแล้งและระยะชุ่มชื้นในภาคเหนือของประเทศไทย ในช่วงเหตุการณ์เอลนีโญ ลานีญา และปกติ

Main Article Content

อภันตรี ยุทธพันธ์
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ชื่นชูกลิ่น
สมชาย ใบม่วง

Abstract

ปริมาณ การกระจาย และความถี่ในการตกของฝนเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกพืช ดังนั้นการวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบเกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูกนั้นว่ามีระยะแห้งแล้งและระยะชุ่มชื้นที่ต่อเนื่องกันเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดบ้าง ระยะเวลายาวนานขนาดไหน ดังนั้นในที่นี้จึงได้ศึกษาโอกาสการเกิดระยะแห้งแล้งและระยะชุ่มชื้นรายสิบวันของฤดูเพาะปลูกพืชในภาคเหนือของประเทศไทยสำหรับกรณีเหตุการณ์เอลนีโญ ลานีญา และปกติ โดยใช้ข้อมูลปริมาณฝนรายวันของสถานีอุตุนิยมวิทยาจำนวน 25 สถานี ระหว่างเดือนเมษายน - พฤศจิกายน.ศ. 2494 - 2556 ด้วยวิธี Markov chain ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นโอกาสการเกิดระยะแห้งแล้ง ระยะชุ่มชื้น กรณีเหตุการณ์เอลนีโญ ลานีญา และปกติ พร้อมนำเสนอในรูปของตารางและแผนที่แสดงความรุนแรงระดับต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเหตุการณ์เอลนีโญระยะชุ่มชื้นของฤดูฝนในภาคเหนือจะเริ่มต้นช้ากว่า รวมทั้งระยะแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงจะมีพื้นที่และความรุนแรงมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีเหตุการณ์ปกติ ส่วนในช่วงเหตุการณ์ลานีญาบริเวณที่ค่อนข้างชุ่มชื้นถึงชุ่มชื้นจะมีพื้นที่มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีเหตุการณ์ปกติ ซึ่งจากผลของการศึกษา นักวิชาการด้านการจัดการน้ำ ด้านการเกษตร รวมทั้งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำและการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Article Details

How to Cite
ยุทธพันธ์ อ., ชื่นชูกลิ่น ร. ด., & ใบม่วง ส. (2015). โอกาสการเกิดระยะแห้งแล้งและระยะชุ่มชื้นในภาคเหนือของประเทศไทย ในช่วงเหตุการณ์เอลนีโญ ลานีญา และปกติ. Naresuan University Engineering Journal, 10(1), 9–20. https://doi.org/10.14456/nuej.2015.5
Section
Research Paper