อิทธิพลของตัวแปรในการเชื่อมเสียดทานอะลูมิเนียมหล่อกึ่งของแข็งต่างชนิด ระหว่าง SSM 356 กับ 7075 Effect of Parameter in Friction Stir Welding Dissimilar Joints of Aluminum Semi-Solid Metal Between SSM 356 and 7075
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างทางจุลภาค และสมบัติทางกล (ความแข็งแรงดึง) ของแนวเชื่อมต่อชนที่ได้จากการเชื่อมเสียดทานแบบกวนระหว่างอะลูมิเนียมผสมหล่อกึ่งของแข็ง เกรด 356 กับ 7075 การวางตำแหน่งการเชื่อมให้ เกรด 356 อยู่ด้านรีทเทรติงไซด์ และ เกรด 7075 อยู่ด้านแอดวานซิงไซด์ โดยใช้ตัวกวนทรงกระบอก ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองมี 2 ตัวแปร คือ ความเร็วหมุนเชื่อมของตัวกวนที่ 710 1,000 และ 1,400 รอบต่อนาที และความเร็วเดินเชื่อมที่ 80 112 และ 160 มม./นาที ความเร็วหมุนเชื่อมของตัวกวนและความเร็วเดินเชื่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของแนวเชื่อม จากการทดลองพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อค่าความแข็งแรงดึง คือความเร็วหมุนเชื่อม ความเร็วเดินเชื่อม และปัจจัยร่วมระหว่างความเร็วหมุนเชื่อมกับความเร็วเดินเชื่อม โดยมีแนวโน้มว่าเมื่อใช้ความเร็วหมุนเชื่อมสูงมีผลทำให้ค่าความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ผลการทดลองที่ความเร็วหมุนเชื่อม 1,400 รอบต่อนาที ความเร็วเดินเชื่อมที่ 112 มม./นาที ให้ค่าความแข็งแรงดึงเฉลี่ยสูงสุด 213 MPa โครงสร้างทางโลหะวิทยาบริเวณแนวเชื่อมประกอบด้วยเนื้อวัสดุของอะลูมิเนียมผสมทั้งสองชนิดที่ละเอียดกว่าเนื้อโลหะเดิม