ผลของการเผาอ้อยต่อคุณภาพอากาศและสมบัติของอ้อย

Main Article Content

ชัยวัฒน์ โพธิ์ทอง
ปาจรีย์ ทองสนิท

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเผาอ้อยต่อคุณภาพอากาศ ในรูปของฝุ่นละอองรวม (TSP) และฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และศึกษาผลของการเผาอ้อยต่อความสกปรกของอ้อย และค่าบริกซ์ของน้ำอ้อย โดยทำการศึกษาบริเวณพื้นที่ปลูกอ้อยหนาแน่นในเขตภาคเหนือในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อย จำนวน 6 จุด ประกอบด้วย พื้นที่บริเวณอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอสวรรคโลกและศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จากการศึกษาองค์ประกอบไร่อ้อยเบื้องต้น พบว่า ไร่อ้อยประกอบด้วยใบสดและใบแห้ง 1.56 และ 2.45 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองรวมและฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 และ ธันวาคม 2554 - มกราคม 2555 มีค่าระหว่าง 17-121 และ 27-64 มคก./ลบ.ม. ขณะที่มาตรฐานคุณภาพอากาศ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2547) กำหนดค่าฝุ่นละอองรวมและฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน ไม่เกิน 330 และ 120 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ จากการศึกษามลพิษจากการเผาใบอ้อยแห้งด้วยวิธีการกองเผาบนพื้นดิน ปริมาณ 0.5-1.5 กก./ตร.ม. พบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ความเข้มข้นสูงสุด 165 และ 0.73 ส่วนในล้านส่วน ตามลำดับ และการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวส่งผลทำให้อ้อยมีความสกปรกสูงขึ้นถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับการเก็บเกี่ยวอ้อยแบบตัดสด และค่าบริกซ์ของน้ำอ้อยที่เก็บเกี่ยวด้วยวิธีการเผามีค่าสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาจส่งผลทำให้คุณภาพของอ้อย (Commercial cane sugar, CCS) ลดลง

 

Effect of Sugar Cane Burning on Air Quality and Cane Properties

This study aimed to investigate the effect of sugar cane burning on air quality in form of total suspended particle (TSP) and particulate matter (PM10) and the effects of pre-harvest burning on the sugar cane dirtiness and the brix of cane juice. The 6 locations were study during harvest period in Amphoe Phayuha Khiri, Nakhon Sawan province and Amphoe Sawankhalok and Si Satchanalai, Sukhothai province. The initial study showed that the cane planting area consisted of dry and fresh leaves of 1.56 and 2.45 ton/rai, respectively. The TSP and PM10 during the harvest period in January-February 2011 and December 2011-January 2012 in the study areas were 17-121  and 27-64 mg/m3, while air quality standards of Notification of National Environmental Board No.24 (2004), the average of TSP and PM10 during 24 hours does not exceed 330 and 120 mg/m3, respectively. The results of the simulated burning of 0.5-1.5 kg/m2 of dry leaves showed that the maximum concentration of CO and NO2 were 165, 0.73 ppm, respectively. The dirtiness of burnt cane increased 4 times compared with unburnt cane and the brix of burnt cane was slightly higher than unbernt cane that may reduce commercial cane sugar (CCS).

Article Details

How to Cite
โพธิ์ทอง ช., & ทองสนิท ป. (2014). ผลของการเผาอ้อยต่อคุณภาพอากาศและสมบัติของอ้อย. Naresuan University Engineering Journal, 7(1), 8–16. https://doi.org/10.14456/nuej.2012.5
Section
Research Paper