การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก โดยวิธีกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น

Main Article Content

ดุษฎี สถิรเศรษฐทวี
ปรีดา พิชยาพันธ์
ชัยวัฒน์ แสงศรีจันทร์
นวพร รักหมู่

Abstract

ในปัจจุบันจังหวัดพิษณุโลก ถือเป็นจังหวัดที่มีการให้บริการระบบรถโดยสารสาธารณะในเขตเมืองพิษณุโลกอย่างครอบคลุมและทั่วถึงโดยบริษัทเอกชน แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มของผู้ใช้รถโดยสารประจำทางกลับมีแนวโน้มที่ลดลง โดยปัจจุบันการเดินทางในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก มีการใช้รถโดยสารประจำทางเพียงร้อยละ 18 ของการเดินทางทั้งหมด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเพื่อทราบถึงสาเหตุที่ทำให้การใช้รถโดยสารในจังหวัดพิษณุโลกลดน้อยลง โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process, AHP) โดยอาศัยข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด คือ แบบสอบถามชุดที่ 1 สำหรับการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางของนิสิต/นักศึกษา เพื่อสอบถามคุณลักษณะทั่วไปของผู้เดินทาง และปัจจัยในการเลือกรูปแบบการเดินทาง แบบสอบถามชุดที่ 2 สำหรับการเปรียบเทียบความสำคัญของ 4 ปัจจัยในการเลือกรูปแบบการเดินทาง และเปรียบเทียบความสำคัญของรูปแบบการเดินทางที่มีให้บริการอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกทั้งหมด  6 รูปแบบ ผลจากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการวางแผนที่ดีที่สุดในการปรับปรุงระบบรถโดยสารสาธารณะที่มีอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก และอาจจะส่งผลดีต่อการเพิ่มสัดส่วนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะในการเดินทางในเขตเมือง  ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาวต่อจังหวัดพิษณุโลกต่อไปทั้งในด้านพลังงานและมลพิษในอนาคต

 

A Study on Factors in Influencing Transportation Mode Selection for Improvement of Public Transport System in Phitsanulok Municipality by Using Analytic Hierarchy Process Method

From the past to present, Phitsanulok is one of role models in urban public transport; as it provides public transport, which are operated by private sectors, to serve customers in and around the city. However, the ridership of the existing public bus system is decreasing to 18 percent of all trips. Therefore, this study aims to explore major causes of the decreasing, and for doing this an analytical hierarchy process (AHP) were employed as an analytical framework. The questionnaire survey was designed into two sets 1) questionnaire survey for determining general characteristics of both users and non-users and the important influenced factors and 2) questionnaire survey for comparing weight of the selected influenced factors and six existing transportation modes. The results from this study could be applied to develop the optimal plan for improving the existing public bus system of Phitsanulok province. The developed plan could be beneficial to preserve or increase the ridership percentage of the public buses resulting in energy saving for better future.

Article Details

How to Cite
สถิรเศรษฐทวี ด., พิชยาพันธ์ ป., แสงศรีจันทร์ ช., & รักหมู่ น. (2014). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก โดยวิธีกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น. Naresuan University Engineering Journal, 7(1), 1–7. https://doi.org/10.14456/nuej.2012.6
Section
Research Paper