การประมาณเวลาและติดตามตำแหน่งรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยเครือข่ายไร้สาย

Main Article Content

เศรษฐา ตั้งค้าวานิช
วันเฉลิม จันทร์ทรง
วิศวะ นามวงษ์
จักรกฤษ เติมฤทธิกุล
กฤษณะ วทานิยานนท์
สุวิทย์ กิระวิทยา

Abstract

บทความนี้เสนอวิธีการประมาณเวลา และ ติดตามตำแหน่งรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร ระบบนี้ทำให้เราสามารถทราบถึงระยะเวลาที่รถไฟฟ้าใช้ในการเคลื่อนที่มาถึงจุดจอดรับผู้โดยสารในแต่ละป้าย โดยมีระดับความคลาดเคลื่อนของค่าที่แสดงต่ำในระดับวินาที ระบบเครือข่ายนี้มีการออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่การเดินรถไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่จริงภายในมหาวิทยาลัย มาตรฐานการสื่อสารไร้สาย IEEE 802.15.4 ZigBee ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างรถไฟฟ้า เราท์เตอร์โนด และ ป้ายแสดงเวลารถ ณ จุดจอดรับผู้โดยสาร โดยนำข้อมูลตำแหน่งและความเร็วรถไฟฟ้า ส่งไปคำนวณเวลาที่คอมพิวเตอร์เกตเวย์ จากนั้นส่งข้อมูลออก 2 ทาง คือ ส่งค่าเวลาออกไปแสดงที่ป้าย ณ จุดจอดรับผู้โดยสาร และส่งข้อมูลไปจัดเก็บลงฐานข้อมูลที่คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำหน้าที่แสดงข้อมูลตำแหน่งของรถไฟฟ้าผ่านทางเว็บไซต์ด้วย เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการระบบขนส่งนี้มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ ผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่มีเว็บบราวเซอร์

 

Arrival Time Approximation and Tracking of NU-EV via Wireless Network

This article presents a method for arrival time approximation and tracking of Naresuan University electric vehicles (NU-EV). The propose of this work is to develop a system to facilitate NU-EV users. By using the system, approximated arrival time of NU-EV will be informed to users at each EV stop. Error of estimated time is less than a few seconds. Developed wireless network covered the whole NU area. IEEE 802.15.4 ZigBee standard is used as a protocol for transferring data among EV, router node, and displays installed at each EV stop. By gathering positional information and the EV speed, computer gateway calculates the arrival time and then sends the data to the displays and a database server. This server is also used as a web server for showing the information, i.e., arrival time and NU-EV position, via a website. Therefore, the NU-EV users, who have communication device with a web browser, can also access this information online.

Article Details

How to Cite
ตั้งค้าวานิช เ., จันทร์ทรง ว., นามวงษ์ ว., เติมฤทธิกุล จ., วทานิยานนท์ ก., & กิระวิทยา ส. (2014). การประมาณเวลาและติดตามตำแหน่งรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยเครือข่ายไร้สาย. Naresuan University Engineering Journal, 8(1), 21–29. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/nuej/article/view/26147
Section
Research Paper