ความสามารถจำเพาะในการผลิตก๊าซมีเทนของจุลินทรีย์ชนิดเม็ดในการบำบัดน้ำเสีย โรงงานน้ำยางข้นที่ใช้กรดซัลฟิวริคและ พอลิเมอร์ A 704 ในกระบวนการผลิตยางสกิม

Main Article Content

กัลยา ศรีสุวรรณ
วีระศักดิ์ ทองลิมป์
เกียรติศักดิ์ พันธ์พงศ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความสามารถจำเพาะในการผลิตก๊าซมีเทนของตะกอนจุลินทรีย์  (Specific Methanogenic Activity : SMA) ในกระบวนการบำบัดแบบทีละเทไร้อากาศ  น้ำเสียรวมจากโรงงานน้ำยางข้นที่ผ่านการแยกยางสกิมด้วยกรดซัลฟิวริค และ โพลิเมอร์  A704 มีค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand ,COD)  8,000±1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร  โดยใช้ตะกอนจุลินทรีย์แบบแกรนูลจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) ของโรงงานอาหารทะเล  ในส่วนแรกเป็นการทดลองแบบทีละเทในขวดซีรัมขนาด 1 ลิตร ใช้น้ำเสียรวมผ่านการแยกยางสกิมด้วยกรดซัลฟิวริค  ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อสมรรถนะของระบบซึ่งได้แก่ ปริมาณจุลินทรีย์  ซีโอดีและพีเอชเริ่มต้นของน้ำป้อนเข้าระบบ  ผลการศึกษาพบว่าที่ปริมาณตะกอนจุลินทรีย์ 125 มิลลิลิตร ซีโอดีเริ่มต้น 4,160 มิลลิกรัมต่อลิตร และพีเอช  7 ได้ค่า SMA  0.11 กรัมซีโอดี/กรัมวีเอสเอส/วัน  ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 75.96 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทีสองเป็นการศึกษาโดยใช้ผลของปริมาณตะกอนและพีเอช ที่ดีที่สุดที่ได้จากการทดลองส่วนแรกแต่ใช้ค่าซีโอดี 8,800 มิลลิกรัมต่อลิตร จากน้ำเสียจริงที่ไม่ได้มีการเจือจาง เปรียบเทียบค่า SMA ระหว่างระบบทีใช้น้ำเสียที่ผ่านการแยกยางสกิมด้วยกรดซัลฟิวริคและด้วยพอลิเมอร์ A 704  โดยใช้ตะกอนจุลินทรีย์แบบแกรนูลที่ผ่านการใช้งานมาแล้วจากระบบ EGSB (Expanded Granular Sludge Bed)  ผลการทดลองพบว่า น้ำเสียที่ได้จากการใช้กรดซัลฟิวริคได้ค่า SMA  0.02 กรัมซีโอดี/กรัมวีเอสเอส/วัน น้อยกว่าน้ำเสียที่ใช้ พอลิเมอร์ A 704  ประมาณ 5 เท่า

 

The objective of this research is to study the  SMA (Specific Methanogenic Activity )  in the anaerobic batch  wastewater treatment processes. The COD of the combine wastewater from the concentrated  latex factory which used sulfuric acid  in a skimming process and   from  those which used polymer A 704  was about 8,000±1,000  mg/L. The granular microorganisms from the UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket) sea food factory wastewater treatment process were used in the experiments. In the first part, the batch experiment was done in  a 1 litre serum bottle using sulfuric skimming process combine wastewater. The effects of the microorganism quantity , the COD and pH of the feed wastewater on the performance of the system were investigated. From the experimental results, the SMA of the system  of  0.11 gCOD/gVSS.d, and  COD removal efficiency  of  75.96 % were obtained  at  125 mL microorganisms, COD feed wastewater of 4,160 mg/L and pH 7. The best results, microorganisms amount and pH, from the first part were used in the  second part. The wastewater, without dilution, from the sulfuric and polymer A 704  skimming process with  the COD of about 8,800 mg/L and  the  granule from EGSB (Expanded Granular Sludge Bed ) were used . The results showed that the SMA of the sulfuric skimming process combine wastewater system was 0.02 gCOD/gVSS.d,  five times less than the system using polymer A 704  skimming process wastewater. 

Article Details

How to Cite
ศรีสุวรรณ ก., ทองลิมป์ ว., & พันธ์พงศ์ เ. (2014). ความสามารถจำเพาะในการผลิตก๊าซมีเทนของจุลินทรีย์ชนิดเม็ดในการบำบัดน้ำเสีย โรงงานน้ำยางข้นที่ใช้กรดซัลฟิวริคและ พอลิเมอร์ A 704 ในกระบวนการผลิตยางสกิม. Naresuan University Engineering Journal, 8(1), 15–20. https://doi.org/10.14456/nuej.2013.10
Section
Research Paper