การศึกษาผลกระทบของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต่อสภาพภูมิอากาศการใช้ที่ดิน พลังงาน และน้ำ ของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคการเกษตร ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งทำให้เกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงานอย่างมากเพื่อเพิ่มผลผลิต ทั้งนี้หากพิจารณาวัฏจักรการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแล้วจะพบว่ากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหลายด้าน ทั้งการใช้ที่ดิน น้ำ และพลังงาน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต่อการใช้ทรัพยากรดังกล่าว ซึ่งพบว่างานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นการศึกษาถึงผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรด้านใดด้านหนึ่ง โดยยังขาดการพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันของทรัพยากรดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้การวางแผนการพัฒนาพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพยังขาดการประเมินผลกระทบต่อความสมดุลของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้ ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนากรอบการ ศึกษาถึงความสัมพันธ์และวิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบบูรณาการ (integrated framework) เพื่อให้การวางแผนพัฒนาพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นไปอย่างยั่งยืน
A Study of Impacts of Biofuel Production on Climate, Land-use, Energy, and Water for Thailand
Biofuels are renewable energy sources that can help reduce oil import dependency, enhance the security of energy, help mitigate green house gas emissions, and promote economic development in the agricultural sector. Consequently, the Thai government has a policy to promote biofuel production. Such a policy has resulted in substantial expansion of agricultural land for increasing energy crop production. Considering the life cycle of biofuel production, it appears that biofuel production has an effect on the use of natural resources such as land, water, and energy, including an impact on climate change. This paper presents a review of study of the impacts of biofuel production on the use of natural resources. A review reveals that most studies focused on a limited perspective by looking at each system separately. Such a limited perspective did not take into consideration the implications arising from the interdependencies between resources. As a result, biofuel development planning appears to lack of an assessment of the impacts on balancing the use of natural resources. There is, therefore, a need to develop an integrated framework for analysing the implications of biofuel production on the use of natural resources in order to achieve a sustainable development of biofuel planning.