โครงสร้างปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้วิศวกรรมคุณค่า ในการออกแบบอาคาร โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Main Article Content

ภัทรวรรณ ธราพร
จักรพงษ์ พงษ์เพ็ง

Abstract

ในโครงการการก่อสร้างปัจจุบัน ประเทศต่างๆ มีการใช้วิศวกรรมคุณค่า เพื่อช่วยลดต้นทุนก่อสร้างอย่างแพร่หลาย ตรงข้ามกับการก่อสร้างในประเทศไทยที่วิศวกรรมคุณค่ายังไม่มีการนำมาใช้มากนัก งานวิจัยส่วนใหญ่จะระบุ สถานการณ์และแนวโน้มของวิศวกรรมคุณค่า อุปสรรคในการพัฒนาวิศวกรรมคุณค่า ประโยชน์และการประยุกต์ใช้วิศวกรรมคุณค่า แต่ยังมีงานวิจัยเพียงส่วนน้อยที่ส่งเสริมการใช้วิศวกรรมคุณค่าในการออกแบบอาคาร งานวิจัยนี้พัฒนาโครงสร้างปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้วิศวกรรมคุณค่าในการออกแบบอาคาร โดยใช้แบบสอบถามสำรวจทัศนคติของผู้ที่ปฏิบัติงาน ที่อยู่ตำแหน่ง ผู้จัดการโครงการ วิศวกรโยธา สถาปนิก และวิศวกรไฟฟ้า โดยมีสเกลวัดแบบลิเคิท ในการนำวิศวกรรมคุณค่ามาใช้ออกแบบก่อสร้างเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งเสริมการนำวิศวกรรมคุณค่ามาใช้ ข้อมูลถูกวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อยืนยันโครงสร้างปัจจัยคือ (1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 1 และ (2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2  ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างปัจจัยถูกแบ่งเป็นสี่กลุ่ม พร้อมน้ำหนักความสำคัญดังนี้ “การออกแบบสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน” (ร้อยละ 35) “การออกแบบระบบ” (ร้อยละ 33) “การออกแบบภายนอกอาคาร” (ร้อยละ 28) และ “การออกแบบโครงสร้าง” (ร้อยละ 4) ซึ่งโครงสร้างปัจจัยนี้จะเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่จะใช้วิศวกรรมคุณค่าเพื่อช่วยลดต้นทุนก่อสร้าง

 

A Structure of Factors Supporting Implementation of Value Engineering in Building Design Using Confirmatory Factor Analysis

Currently, construction projects in various countries use value engineering (VE) to reduce construction cost. Conversely, in Thai construction, VE has not been widely used. Most the literature identifies situations and trends of VE, obstacles of developing VE, benefits and application of VE. However, few research works have suggested a structure of factors supporting the implementation of VE in building design. This research was aimed to develop such a structure by surveying attitudes by Likert scale of practitioners in the positions of project manager, civil engineer, architecture and electrical engineer experienced in the implementation of VE about the level of importance placed on each factor. The data were analyzed to confirm the structure of factors by two methods: (1) 1st order confirmatory factor analysis and (2) 2nd order confirmatory factor analysis. The result shows that the structure can be divided into four groups with their weights of relative importance: “architectural design and interior decoration” (35%), “systems design” (33%), “Landscape design” (28%) and “Structural design” (4%). This structure of factor is beneficial for construction industry to determine an approach to implement VE to reduce construction cost.

Article Details

How to Cite
ธราพร ภ., & พงษ์เพ็ง จ. (2014). โครงสร้างปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้วิศวกรรมคุณค่า ในการออกแบบอาคาร โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. Naresuan University Engineering Journal, 8(2), 12–19. https://doi.org/10.14456/nuej.2013.8
Section
Research Paper