การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการเส้นทางเชื่อมต่อแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราช

ผู้แต่ง

  • ติณณ์ ถิรกุลโตมร สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์ หน่วยวิจัยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการเชิงพื้นที่ คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา 30000
  • อธิวัฒน์ ภิญโญยาง หน่วยวิจัยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการเชิงพื้นที่ คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา 30000

คำสำคัญ:

แหล่งวัฒนธรรม, เมืองเก่าโคราช, การท่องเที่ยวชุมชน, ภูมิสารสนเทศ, การวิเคราะห์โครงข่าย

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวมีบทบาทและเป็นกลยุทธ์สำคัญที่นำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เส้นทางเชื่อมต่อแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราชสำหรับสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์โครงข่าย (การวิเคราะห์เส้นทางที่สั้นที่สุด การวิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกที่ใกล้ที่สุด และการวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการ) ซึ่งอาศัยข้อมูลโครงข่ายถนนและฐานข้อมูลเชิงพื้นที่แหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราช ผลการศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์เส้นทางเชื่อมต่อแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราช
ที่ดีที่สุด ได้ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ จำนวน 4 เส้นทาง ประกอบด้วย (1) เส้นทางทำบุญไหว้พระชมสถาปัตยกรรมเมืองเก่าโคราช (2) เส้นทางชมเมืองเก่าโคราช (3) เส้นทางชมศิลปวัฒนธรรมและจิตกรรมเมืองเก่าโคราช และ (4) เส้นทางขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมืองเก่าโคราช มีระยะทางรวมระหว่าง 3.50-4.62 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8.39-11.08 นาที ในขณะที่ผลการวิเคราะห์สิ่งอำนวยความสะดวกที่ใกล้ที่สุด พบว่า เส้นทางการเชื่อมต่อระหว่าง TK Square Korat กับแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราช มีระยะทางที่สั้นที่สุดอยู่ระหว่าง 66.97-1,857.12เมตร ใช้เวลาเดินทาง 0.16-4.46 นาที นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการของการเข้าถึงแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราช พบว่า พื้นที่ให้บริการของการเข้าถึงแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราชที่ผ่านการคัดสรรทั้ง 10 แห่ง ในระยะทาง 150 300 และ 500 เมตร มีพื้นที่ให้บริการคิดเป็นร้อยละ 11.04 33.16 และ 68.65 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ โดยผลลัพธ์จากการวิจัยนี้ช่วยในการพัฒนาแหล่งวัฒนธรรมเมืองเก่าโคราชให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่สามารถนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องและเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในรูปแบบที่ยั่งยืนและเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นในอนาคต

References

จุฬามณี แก้วโพนทอง ทรงพล โชติกเวชกุล ปัญญา คล้ายเดช และ พระสุนทร ชำกรม. (2561). การบริหารจัดการชุมชนเพื่อความยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(1), 263-273.

ณรงค์ พลีรักษ์. (2556). ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36(2), 235-248.

ดารียา บินดุสะ และ เอมอร อ่าวสกุล. (2561). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและธรรมชาติเพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอําเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2557). การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวครั้งแรกและนักท่องเที่ยวซ้ำ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 9(2), 39-59.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf.

Asian Center for Planning and Poverty Reduction. (2006). Guidelines on integrated planning for sustainable tourism development. Bangkok: Asian Center for Planning and Poverty Reduction.

Chang K-T., and Carl, M. (2019). Introduction to Geographic Information Systems (9th ed). McGraw-Hill.

ESRI. (2016). ArcGIS for Desktop 10.5. Environmental Systems Research Institute, Redlands.

Formica, S. (2000). Destination attractiveness as a function of supply and demand interaction. Retrieved from http://www.scholar.lib.vt.edu/theses/available/etd-11142000 -15560052.

Krutwaysho, O., & Chainark, S. (2018). Blue Tourism as a New Tourism form for Shaping Thailand into the Tourism Hub of the ASEAN Community. Journal of Management Science, Chiang Rai Rajabhat University, 13(2), 139-169.

Prameshwori, T., Wangshimenla, J., Surjit, L., and Ramananda, L. (2021). GIS Based Route Network Analysis for Tourist Places: A Case Study of Greater Imphal. International Journal of Scientific Research in Science, Engineering and Technology., 8(2), 233-238.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/25/2024