Implementation of Geographic Information Technology for Mapping and Studying Elephant Encroachment Density on Agricultural Land Outside Protected Zone
Keywords:
Kernel Density Estimation, Elephant Incursion into Agricultural LandscapesAbstract
การทำความเข้าใจพฤติกรรมในอดีตของช้างที่บุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมภายนอกเขตอนุรักษ์สามารถสนับสนุนการวางแผนป้องกันปัญหาดังกล่าวในอนาคตได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ 1) การสร้างแผนที่ความหนาแน่นของช้างที่ออกนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมืองโดยใช้การประมาณค่าความหนาแน่นเชิงพื้นที่แบบเคอร์เนล และ 2) เพื่อวิเคราะห์ประเภทของเกษตรกรรมที่ดึงดูดช้างโดยใช้ข้อมูลตำแหน่งและวันเวลาที่พบช้างออกจากเขตอนุรักษ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2565 จำนวน 125 ครั้งสร้างเป็นชั้นข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การซ้อนทับกับชั้นข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน การศึกษาพบว่าช่วงเวลาที่มีพื้นที่ที่มีช้างหนาแน่นมาก คือ ฤดูฝน รองลงมาคือ ฤดูร้อน และหนาว นอกจากนี้หากพิจารณาทิศทางการกระจายตัวของช้าง ช่วงฤดูฝน ช้างออกหากินกระจายเกือบทั่วทั้งพื้นที่ศึกษา แต่ในทางกลับกัน ช่วงฤดูร้อนและหนาว การบุกรุกของช้างมีการกระจายอย่างมีทิศทางชัดเจนไปที่ผลผลิตทางการเกษตรที่ยังเหลืออยู่ โดยพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากช้างมากที่สุด คือ นาข้าว รองลงมาคือ ไม้ผล และพืชไร่ อย่างไรก็ตาม หากเป็นช่วงฤดูหนาว ไม้ผลถูกบุกรุกเป็นเนื้อที่มากที่สุด
References
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2557). คู่มือความรู้เรื่องช้างและข้อควรปฏิบัติตนเมื่อพบช้างป่า. กลุ่มงานวิจัย สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. จาก https://www.dnp.go.th/Wildlife/technique_document/elephant%20manual/elephant_manual.pdf.
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง. (2565). แผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง พ.ศ. 2566-2575. ลำปาง: เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง.
โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ. (2545). โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติในพระราชดําริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ. จาก https://books.google.co.th/books?id=NRXbAAAAMAAJ.
ทับทิม วิเศษสุมน. (2556). การวิเคราะห์รูปแบบด้านเวลาและสถานที่ของอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น. สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศกร ศรีณรงค์, Hong SHU, ภัทราพร สร้อยทอง และกฤษนัยน์ เจริญจิตร. (2565). การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ของอาชญากรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 28(2), 929-948.
พิชเญศ ทรัพย์ประเสริฐ, วิไลพรรณ คงสวัสดิ์, และธงชัย สุธีรศักดิ์. (2566). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน กรณีศึกษาอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33(1), 280-291.
มณฑล เยี่ยมไพศาล และมานัส ศรีวณิช. (2553). ความหนาแนนเชิงพื้นที่อาชญากรรม กรณีเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ศึกษาตามแบบเคอร์เนล. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 7(1), 87-102.
มยุรี อำพลจันทร์, นริศ ภูมิภาคพันธุ์ และ Andreas Peter Paul Koeniq. (2550). ขนาดพื้นที่อยู่อาศัยและความหนาแน่นของชะนีมือขาวบริเวณห้วยไม้ซอดใหญ่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย, 14(1), 41-53.
ยงยุทธ ไตรสุรัตน์, รองลาภ สุขมาสรวง และนริศ ภูมิภาคพันธ์. (2559). การศึกษานิเวศวิทยาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รองลาภ สุขมาสรวง. (2536). นิเวศวิทยาของช้างป่า (Elephas maximus Linnaeus, 1758) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และตาก. จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/212709.
สมหญิง ทัฬหิกรณ์ และสุธีร์ ลอยมา. (2552). การใช้ประโยชน์พื้นที่อาศัยของช้าง (Elephas maximus Linnaeus, 1758) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย.Wildlife Yearbook 10, 125-153. จาก https://www.dnp.go.th/wildlife/wildlifeyearbook/abstract/2551%20full/ 1.9%20ช้างป่า%20(สมหญิง)%20P125-153.pdf.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). สรุปชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย: สัตว์มีกระดูกสันหลัง. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 112. จาก https://www.onep.go.th/ebook/bio/th-red-data-vertebrates.pdf.
ArcGIS. (2024). How Kernel Density works. from https://pro.arcgis.com/en/pro-app/latest/tool-reference/spatial-analyst/how-kernel-density-works.htm.
Demers, M. N. (1997). Fundamentals of Geographic Information System. John Wiley & Sons, Inc.
Lees, K. J., Guerin, A. J., and Masden, E. A. (2016). Using kernel density estimation to explore habitat use by seabirds at a marine renewable wave energy test facility. Marine Policy, 63, 35-44.
Maurizio, G., Paul, L. and Phil, A.. (2007). Kernel density estimation and percent volume contours in general practice catchment area analysis in urban areas. GIS RUK 2007. Proceedings of the Geographical Information Science Research UK 15th Annual Conference.