การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • พลพิทักษ์ อินต๊ะสอน กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • อนุพงศ์ หลวงโย ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57100
  • ธิดาภัทร อนุชาญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

โครงการรับตรง, โควตาครูแนะแนว, มหาวิทยาลัยพะเยา, เว็บแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

โครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา ระบบเดิมงานครูแนะแนวจะดำเนินการส่งเอกสารในรูปแบบกระดาษมายังมหาวิทยาลัยพะเยา จากนั้นเจ้าหน้าที่งานรับเข้าศึกษาจะดำเนินการรับเอกสาร มีจำนวนมาก อีกทั้งการจัดส่งเอกสารอาจมีโอกาสผิดพลาด ทำให้นักเรียนสูญเสียโอกาสทางการศึกษา ทำให้เกิดความยุ่งยาก ซับซ้อน และเพิ่มภาระงาน ค่าใช้จ่ายให้กับครูแนะแนว โดยการจัดเก็บในรูปแบบเอกสารต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ ต้องการความปลอดภัยสูง และมีโอกาสผิดพลาดในการตรวจสอบเอกสาร จากเอกสารที่มีจำนวน 53,247 ฉบับ งานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนในการดำเนินงานของครูแนะแนวและเจ้าหน้าที่งานรับเข้าศึกษา การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา ขั้นตอนสำหรับการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ประกอบด้วยส่วน Front-End ที่พัฒนาโดยภาษา JavaScript, HTML, CSS และ Bootstrap Framework ส่วน Back-End พัฒนาโดยภาษา PHP, Phalcon Framework ในส่วนของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ใช้ระบบฐานข้อมูล Microsoft SQL Server  ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา ผลการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิตที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บแอปพลิเคชันโครงการรับตรง (โควตาครูแนะแนว) มหาวิทยาลัยพะเยา มีการแบ่งสิทธิ์ของผู้ใช้งานออกเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มครูแนะแนว และกลุ่มเจ้าหน้าที่งานรับเข้าศึกษา 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ถือว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศกิจกรรมนักศึกษาผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Modern Learning Development, 8(4), 161-173.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เพียรทิพย์ ศรีสุธรรม, รัตนาลีรุ่งนาวารัตน์ และณัฏฐ์ธมน หีบจันทร์กรี. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานบัณฑิตนิพนธ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร, 10(2), 139-154.

วงศ์สวรรค์ ศรีมนตรีสง่า. (2565). การพัฒนาระบบรับสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ ปขมท., 11(3), 118-128.

วุฒิภัทร พงษ์เพชร, อภิชาติ จําปา และอัจฉริยา ทุมพานิชย์. (2566). การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบอไจล์เพื่อพัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารศิลปศาสตร์(วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 3(1), 49-61.

สะดียะห์ สะแอ, โซเฟียร โตะกูเบ และอัจฉราพร ยกขุน. (2566). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสหกิจศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 8 และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 1.

สุธาเทพ รุณเรศ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชานโยบายและการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อมีนา ฉายสุวรรณ และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2566). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันพจนานุกรมคำศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 18(2), 29-44.

Likert, R. (1932). A Technique For The Measurement of Attitudes (พิมพ์ครั้งที่ 22). Archiver Of Psychology.

Morris, S. (2023). What Is A Full Stack Developer? Find Out Here! . สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก https://skillcrush.com/blog/front-end-back-end-full-stack/.

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessmentof criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Taro Yamane. (1973). Statistics : an introductory analysis / Taro Yamane (พิมพ์ครั้งที่ 3). New York : Harper and Row: New York : Harper and Row.

tutorialspoint. (2023). Phalcon - Overview. สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.tutorialspoint.com/phalcon/index.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/13/2023