การประเมินการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการสัญจรบนถนนในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนแผนลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
การประเมินการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ข้อมูลตรวจนับการสัญจรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อการประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากถนนบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยพะเยาที่สร้างจากข้อมูลตรวจนับการสัญจรในช่วงเวลาเร่งด่วน การสำรวจภาคสนามในพฤหัสบดีที่ 27 ศุกร์ที่ 28 และอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2565 ถูกใช้เป็นตัวแทนของปริมาณการสัญจรของวันธรรมดาและวันหยุดในช่วงปิดภาคการศึกษา ตามลำดับ ในทางกลับกัน วันพฤหัสบดีที่ 10 ศุกร์ที่ 11 และอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เป็นตัวแทนของข้อมูลในช่วงเปิดภาคการศึกษา ภายหลังการบันทึกข้อมูลสู่โปรแกรมไมโครซอฟท์เอกซ์เซล การบริโภคเชื้อเพลิงและปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละส่วนถนนถูกคำนวณอย่างมีขั้นตอน กระบวนการทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ถูกใช้เพื่อจัดเก็บและแสดงข้อมูลการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ถนนภายในพื้นที่ศึกษาถูกแบ่งและดิจิไทซ์ออกเป็น 8 ส่วนโดยอาศัยจุดตัด จากนั้นข้อมูลตารางเอ็กเซลถูกเชื่อมโยงเข้าสู่ตารางคุณลักษณะของชั้นข้อมูลและนำเสนอเป็นแผนที่ของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวันหยุดราชการในช่วงเวลาปิดภาคการศึกษามีการปลดปล่อย CO2 ในชั่วโมงเร่งด่วนมากที่สุด เท่ากับ 1,660.84 kg CO2eq นอกจากนี้ช่วงปิดภาคการศึกษา การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในวันหยุดราชการมีมากกว่าวันธรรมดา ในทางกลับกันในช่วงเปิดภาคการศึกษา มีค่าการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการดังกล่าวยังเป็นไปได้และใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลสนับสนุนการติดตามและการลดขนาดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
References
กองการเจ้าหน้าที่. (2566, 1 มิถุนายน). สรุปอัตรากำลัง บุคลากร ของมหาวิทยาลัยพะเยา สิงหาคม ปี 2565. มหาวิทยาลัยพะเยา. สืบค้นจาก https://personnel.up.ac.th/Report.aspx
ชัยยศ ยงค์เจริญชัย. (2562, 9 พฤษภาคม). ชายหาดหลายแห่งในไทยถูกปิดต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยว. บีบีซีไทย. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-48214663.
ไทยรัฐออนไลน์. (2564, 8 มกราคม). โควิดระบาดพบสัตว์ทะเลหายาก มีอัตราการเกิดเพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/2008653.
ไทยรัฐออนไลน์. (2563, 20 พฤษภาคม). ล็อกดาวน์คุมโควิด ทำทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ลดลงมากสุดรอบหลายสิบปี. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/1848518.
ไทยรัฐออนไลน์. (2566, 3 กุมภาพันธ์). มลพิษฝุ่น กทม. ติดอันดับ 4 โลก สูงระดับสีแดง ให้งดกิจกรรม ที่จัดกลางแจ้ง สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2619716.
ประมณฑ์ กาญจนพิมลกุล และกรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์. (2563). เปลี่ยนวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส: การพลิกฟื้นทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/06/covid-19-turning-crisis-into-an-opportunity-for-natural-tourism/.
ระบบบริการการศึกษา. (2566, 1 มิถุนายน). จำนวนนิสิตในปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยพะเยา. สืบค้นจาก https://reg.up.ac.th/content/all/information.
วิภพ แพงวังทอง และรังสรรค์ เกตุอ๊อต. (2563). การทำแผนที่คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการสัญจรช่วงเวลาเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนแผนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่, 3(1), 41-52.
สิทธิชัย ชูสำโรง. (2559). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 104333 การจัดการฐานข้อมูลและฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ. ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อบก. (2562, 1 มกราคม). ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) รวบรวมมาจากข้อมูลทุติยภูมิสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. สืบค้นจาก ttp://localcfo.tgo.or.th/uploads/docs/20200311130041.pdf.
อบก. (2565, 22 กุมภาพันธ์). TGO จับมือ VGREEN ร่วมขยายผลกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเพื่อสนับสนุนตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions. สืบค้นจาก http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/tgo-จับมือ-vgreen-ร่วมขยายผลกิจกรรมชดเชยคาร์บอนเพื่อสนับสนุนตลาดคาร์บอน.
ENVIRONNET. (2559, 13 กรกฎาคม). การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคการขนส่งในบริบทโลก. ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก http://www.environnet.in.th/archives/1533.
Giovanni, D. N., Mohamed, L., and Lauren, T. (2020). Road Traffic Dynamic Pollutant Emissions Estimation: From Macroscopic Road Information to Microscopic Environmental Impact. Atmosphere, 15(53), 1-23.
iTIC. (2022). iTIC Traffic Live Web-based application. The Intelligent Traffic Information Center Foundation. Retrieved from https://iticfoundation.org/.
Kai, Z., Stuart, B., and Francois, Dion. (2011). Vehicle Emissions in Congestion: Comparison of Work Zone, Rush Hour and Free-flow Conditions. Atmospheric Environment, 45(11), 1929-1939.
Longdo. (2022). Longdo Traffic Web-based application. Retrieved from https://traffic.longdo.com/th/.
ORNL DAAC. (2022). DARTE Annual On-road CO2 Emissions on a 1-km Grid, Conterminous USA, V2, 1980-2017. The Oak Ridge National Laboratory Distributed Active Archive Center. Retrieved from https://doi.org/10.3334/ORNLDAAC/1735.
Qingquan, L., Xiaomeng, C., Xiaohui, C., Luliang, T., Zhiheng, L., and Liu, C. (2013). Road-Segment-Based Vehicle Emission Model for Real-Time Traffic Greenhouse Gas Estimation. IEEE TRANSACTIONS ON INTELLIGENT TRANSPORTATION SYSTEMS, 14(1), 469-479.
TOMTOM. (2022). Bangkok traffic Web-based application. Retrieved from https://www.tomtom.com/.
William, H. B. (1998). A GIS-Based Modal Model of Automobile Exhaust Emissions. EPA (Environmental Protection Agency). Retrieved from https://nepis.epa.gov/Exe/ZyNET.exe/9100S90X.TXT?ZyActionD=ZyDocument&Client=EPA&Index.
Zahra, G. and Malik, K. (2011). Using the Geographic Information System (GIS) in the Sustainable Transportation. World Academy of Science. Engineering and Technology, 59(2011). Retrieved from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.294.9103&rep=rep1&type=pdf
Zihan, K., Luliang, T., Mei-Po, K., and Xia, Z. (2018). Estimating Vehicle Fuel Consumption and Emissions Using GPS Big Data. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(4), 1-23.
