เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • วรินทร ซอกหอม สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จังหวัดลำปาง 52100
  • นุชรารัตน์ ถาวะดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • นครินทร์ ชัยแก้ว หน่วยวิจัยพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

เว็บแอพพลิเคชั่น, หลักการวงจรการพัฒนาระบบ, ส่วนสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับติดตามการประเมินผล การดำเนินโครงการของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อใช้ในการสนับสนุน
การดำเนินงาน รวบรวมข้อมูล และประมวลผลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลของการดำเนินโครงการคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับติดตามการประเมินผลการดำเนินโครงการของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศภายใต้หลักการวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) โดยการใช้ภาษาโปรแกรม ASP.NET ในรูปแบบกรอบการดำเนินงาน .Net Core MVC และใช้ส่วนสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชัน (Application Program Interface: API) ด้วยภาษา JavaScript Vue.js Framework จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบระบบฐานข้อมูล SQL Server (Database System) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและจัดการระบบฐานข้อมูลของการพัฒนาระบบ ในขั้นตอนการดำเนินงานหลังจากได้ทำการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบที่จัดทำขึ้น โดยมี 4 กลุ่มผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหาร เจาหนาที่ ผู้ดูแลระบบ และผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ผลปรากฏว่าสามารถประเมินผลการดำเนินโครงการในรูปแบบระบบสารสนเทศได้ และผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ มีผลการประเมินความพึงพอใจเว็บแอพพลิเคชั่นจากผู้ใช้งานระบบโดยรวม มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 โดยผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในด้านประสิทธิภาพการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่น มากที่สุด รองลงมาคือด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น และด้านความพึงพอใจจำแนกตามประเภทผู้ใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่น จำแนกตามประเภทผู้ใช้งาน โดยแยกตามประเภทผู้ใช้งาน 4 ประเภท ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลระบบ และผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผลประเมินภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และด้านประสิทธิภาพการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่น ทั้ง 4 ประเภทผู้ใช้งาน ได้ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยผู้ใช้งานผู้บริหารมีความพึงพอใจในภาพรวมของการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่นมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 รองลงมาคือผู้ใช้งานทั่วไป เจ้าหน้าที่โครงการ และผู้ดูแลระบบ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 3.97 และ 3.94 ตามลำดับ

Author Biographies

นุชรารัตน์ ถาวะดี, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

 

 

 

นครินทร์ ชัยแก้ว, หน่วยวิจัยพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

 

 

References

กัลยา รัตนศิวะ. (2566). การพัฒนาโปรแกรมทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กรณีศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. จาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=628932.

ณัฐกร จันทร์คำปัน. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบันทึกข้อมูล ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมนักศึกษาสำหรับหน่วยพัฒนาคุณภาพนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. จาก http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/14844.

ดำริ ไชยมงคล. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพายัพ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. จาก http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/14837.

บุหลัน เจนร่วมจิต วรรณ์ดี แสงประทีปทอง ศิริพรรณ ชุมนุม และคมศร วงษ์รักษา. (2563). การพัฒนาระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(2), 165-181.

พงค์ศิริ ปิตุรัตน์เจริญกุล. (2551). การพัฒนาระบบประมวลผลการประเมินพฤติกรรมการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. จาก http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/14630.

วิทวัส จันทร์ทอง. (2565). Microsoft SQL Server. สืบค้นเมื่อ 9 April 2023, จาก https://monsterconnect.co.th/get-to-know-microsoft-sql-server/.

วิยุดา เพชรจิรโชติกุล และกรสิริณัฐ โรจนวรรณ์. (2564). การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอน ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(2), 282-302.

ศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2565). การประเมินโครงการ. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. จาก http://km.moi.go.th/km/32_quality_plan/evaluate/evaluate5_2.pdf

สุรีย์พร อังสุภานิช. (2562). ASP.NET MVC. สืบค้นเมื่อ จาก https://sysadmin.psu.ac.th/2015/07/15/ asp-net-mvc-part-1-ทำความรู้จักกับ-asp-net-mvc/.

Amazon.com. (2565). Software Development Lifecycle. สืบค้นเมื่อ จาก https://aws.amazon.com/th/what-is/sdlc.

AppMaster. (2565). Vue.js. สืบค้นเมื่อ จาก https://appmaster.io/th/blog/vuejs-khuue-aair.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/12/2023