การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการฝึกงานแบบออนไลน์ กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ฝึกงาน, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ, กูเกิ้ลแอพลิเคชัน, มหาวิทยาลัยพะเยาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการข้อมูลการฝึกงานในรูปแบบออนไลน์ 2) เพื่อการประยุกต์ใช้ Google Apps for Education ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วยภาษา PHP, HTML ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมและสร้างเว็บแอพลิเคลิชัน และใช้ MySQLในการจัดทำระบบฐานข้อมูล ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบ ด้านประสิทธิภาพการทำงานของระบบ และด้านประโยชน์ต่อการใช้งานพบว่า โดยค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.55 ประโยชน์ที่ได้รับของงานวิจัยนี้คือ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ในการยื่นฝึกงาน ช่วยให้การสืบค้นข้อมูลและติดตามสถานการณ์ฝึกงานทำได้อย่างรวดเร็ว มีระบบการจัดการข้อมูลการฝึกงานที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการที่สนใจในการเข้าฝึกงานที่ปีที่ผ่านมาได้เพื่อเป็นแนวทางในการหาที่ฝึกงานของนิสิตในปีต่อๆ ไปReferences
เกรียงศักดิ์ จันทีนอก, เอกชัย แน่นอุดร, และ นิพจน์พัทธ์ เมืองโคตร (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กรณีศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 29-39.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). สืบค้นจากhttps://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29.
เด่นชัย สมปอง, ดร.สายชล จินโจ, ดร.สุขแสง คูกนก, ดร.เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การพัฒนาระบบบริหารจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(11), 65-79.
ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา. (2563). เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://www.crc.up.ac.th/th/filennounce/20448545.3073.pdf.
พรรณี แพงทิพย์ และ สิทธิกร สุมาล (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14 (26), 39-50.
พัชชา ทัพสัพ และคณะ (2564). การพัฒนาระบบบริหารจัดการการฝึกงานแบบออนไลน์ รองรับสถานการณ์โรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19). สืบค้นจาก https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2563/research.rmutsb-2563-20210607132324719.pdf.
ไพรัชนพ วิริยวรกุล, และ ดวงกมล โพธิ์นาค (2557). Google Apps for Education นวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 7(3), 103-111.
วิไลลักษณ์ กาประสิทธิ์. (2560).ระบบการจัดการการฝึกงาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นจากhttp://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/ fullreport/1615219502.pdf.
Uakarn C., Chaokromthong K. and Sintao N. (2021). Sample Size Estimation using Yamane and Cochran and Krejcie and Morgan and Green Formulas and Cohen Statistical Power Analysis by G*Power and Comparisons. APHEIT International journal, 10(2), 76-88.
