การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศในการติดตามคุณภาพน้ำ บริเวณกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ภูมิสารสนเทศ, กว๊านพะเยา, ดาวเทียม, ดัชนีคุณภาพน้ำบทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศในการติดตามคุณภาพน้ำ บริเวณกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยามีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ และสร้างดัชนีคุณภาพน้ำของกว๊านพะเยาในการกำหนดเขตคุณภาพน้ำ โดยมีวิธีการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การปรับแก้ความถูกต้องเชิงเรขาคณิต 2) การจำแนกภาพดาวเทียมเพื่อสกัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นแหล่งน้ำ 3) การสร้างชั้นข้อมูลคุณภาพน้ำจากการสำรวจสู่พิกัดเชิงตำแหน่ง 4) การปรับข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ 5) การให้คะแนนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบจากดัชนีคุณภาพน้ำ 6) การนำค่าคะแนนที่ได้คูณกับค่าถ่วงน้ำหนักตามระดับที่กำหนด และ 7) การสร้างแผนที่คุณภาพน้ำ โดยกำหนดระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำจากการแบ่งช่วงค่าคะแนนรวม จากนั้นนำข้อมูลภูมิสารสนเทศมาตรวจสอบคุณภาพน้ำในกว๊านพะเยา โดยพิจารณาร่วมกับข้อมูล 3 ตัวแปร คือ 1) ความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) 2) ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N) และ 3) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP) และนำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำมาปรับให้มีช่วงคะแนนมาตรฐานจากดัชนีคุณภาพน้ำ แล้วนำค่าคะแนนที่ได้คูณกับค่าถ่วงน้ำหนักตามระดับที่กำหนดเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ ผลที่ได้พบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมากทั้งค่า NO3-N และ TP ขณะที่ค่า BOD อยู่ในเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณใกล้เมืองมีค่าพอใช้ สำหรับภาพรวมทั้ง 3 ตัวแปรพบว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากเป็นส่วนใหญ่ มีค่าอยู่ในเกณฑ์ดีในบริเวณใกล้เมืองจากอิทธิพลของค่า BOD
References
Ritchie,J, C., Cooper,C, M., and Schiebe, F, R., (1990). The Relationship of MSS and TM Digital Data with Suspended Sediments, Chlorophyll, and Temperature in Moon Lake, Mississippi. Remote Sensing Environment 33:137-148.
Pattiaratchi, C, B., Lavery P., Wyllie, A., and Hick, P., (1994). Estimates of water-quality in coastal waters using multi-date Landsat Thematic Mapper data. International Journal of Remote Sensing 15(8):1571–84.
Ekercin, S., (2007). Water Quality Retrievals from High Resolution Ikonos Multispectral Imagery: A Case Study in Istanbul, Turkey. Water Air & Soil Pollution 183 (1-4): 239-251.
Wang and DeLiberty. (2005). Landsat Atmospheric Correction: The Good, the Bad, and the Ugly. ESRI User Conference Proceedings 2005 (International User Conference 25th). July 25–29, 2005. San Diego, California USA.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง. (2553). ข้อมูลคุณภาพน้ำประจำปี 2538-2552 [แฟ้มข้อมูล]. ลำปาง: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2537) คู่มือตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม.[ออนไลน์] ได้จาก
http://infofile.pcd.go.th/water/inspect_water.pdf?CFID=4038890&CFTOKEN=89571395
Song, T., and Kim, K., (2009). Development of a water quality loading index based on water quality modeling. Journal of Environmental Management. 90 (3): 1534–1543.
พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล. (2548). คุณภาพน้ำในกว๊านพะเยา. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43: สาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
