The การศึกษาระดับความเสี่ยงและแนวทางป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วม บริเวณลุ่มน้ำปัตตานี

ผู้แต่ง

  • พงศ์พล ปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กฤตวิทย์ หนูเพชร สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ภัยพิบัติ, ระดับความเสี่ยงภัย, น้ำท่วม, การป้องกันน้ำท่วม, ลุ่มน้ำปัตตานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและแผนป้องกันการเกิดน้ำท่วม ลุ่มน้ำปัตตานี จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมและวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงการเกิดน้ำท่วม บริเวณลุ่มน้ำปัตตานี  พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ข้อมูลปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี สถิติน้ำท่วมย้อนหลัง ระยะห่างแหล่งน้ำ ความสามารถการระบายน้ำของดิน สิ่งกีดขวาง ความสูงระดับทะเลปานกลาง ความลาดชัน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยอาศัยแบบประเมินค่าถ่วงน้ำหนักและปัจจัยจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในและนอกพื้นที่ ผ่านการวิเคราะห์ระดับเสี่ยงภัยด้วยเทคนิคทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำปัตตานีส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงน้ำท่วมระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.58 และมีความเสี่ยงน้ำท่วมสูงและสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 25.25 และร้อยละ 4.12 ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอุทกภัยระดับต่ำมากหรือพื้นที่ปลอดภัยน้ำท่วม มีเพียงร้อยละ 3.10 จากพื้นที่ทั้งหมด ผลการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงน้ำท่วมสูงที่สุดในจังหวัดยะลา คือ อำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน  และอำเภอเบตง และพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงน้ำท่วมสูงที่สุดในจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอสายบุรี อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ อำเภอไม้แก่น  และอำเภอหนองจิก โดยเมื่อพิจารณาแผนการป้องกันน้ำท่วม พบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำปัตตานีมีเพียงแผนเผชิญเหตุป้องกันน้ำท่วม แต่การพิจารณานำแผนมาปรับใช้ยังเป็นปัญหา เนื่องจากไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการน้ำบริเวณเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิดน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำปัตตานี ร่วมกับการบริหารจัดการแม่น้ำสายสั้น ๆ ซึ่งพบว่า เส้นทางเดินน้ำบางพื้นที่มีลักษณะตื้นเขินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันออกก่อนไหลสู่ลงอ่าวไทยในจังหวัดปัตตานี และแผนการป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการเส้นทางน้ำสายหลักและสายสั้น ๆ ดังกล่าว เป็นเพียงแผนเพื่อการบริหารจัดการและการบรรเทาสาธารณภัยเมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยแล้วเท่านั้น

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2554). การลดความเสี่ยงและความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม. แหล่งที่มา: https://www.preventionweb.net/files/36306_36306drrhandbookinthai1.pdf. 3 พฤศจิกายน 2563.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2558). น้ำท่วมและสาเหตุการเกิดน้ำท่วม. แหล่งที่มา: https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=70. 5 พฤศจิกายน 2563.

ขนิษฐา เยาวนิชย์. (2541). “การกำหนดขอบเขตพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำมูล-ชี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (วนศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพื่อนแก้ว ทองอำไพ. (2563). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. แหล่งที่มา

https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/research-support/info-deedee/1306-gis. 9 พฤศจิกายน 2563.

วัฒกานต์ ลาภสาร. (2555). วิทยาการสาธารณภัย : นิเวศภัยพิบัติ. แหล่งที่มา:

http://msjo.net/categoryblog/201-risk.html. 11 ธันวาคม 2563.

ศูนย์เทคโนโลยีภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร. (2551). การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. แหล่งที่มา: http://www.bangkokgis.com/. 11 ธันวาคม 2563.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2557). บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วม. แหล่งที่มา: http://tiwrmdev.hii.or.th/current/flood_sep57/flood_sep57.html. 3 พฤศจิกายน 2563.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2531). การป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 12 เรื่องที่ 8 การพัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งที่มา: https://www.saranukromthai.or.th. 7 พฤศจิกายน 2563.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2560). การบริหารจัดการลุ่มน้ำและภูมิลักษณ์ลุ่มน้ำปัตตานี. แหล่งที่มา: http://www.onwr.go.th/wp-content/uploads. 5 พฤศจิกายน 2563.

สุระ พัฒนเกียรติ. 2546. ระบบภูมิสารสนเทศในทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (Geo-Informatics in Ecology and Environment). โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2021