From Urban Planning in Japan to Community-based Practice

Authors

  • Boonsiri Sukpromsun Geographic Information Science, Faculty of Information and Communication Technology, University of Phayao, Phayao 56000

Keywords:

Urban Planning in Japan

Abstract

บทนำ

การวางผังเมืองในประเทศญี่ปุ่นได้ถือกำเนิดอย่างเป็นรูปธรรมที่เมืองเกียวโตในปี ค.ศ. 794 ซึ่งในขณะนั้นเมืองเกียวโตได้รับการจัดตั้งให้เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น การวางผังกายภาพและการจัดวางองค์ประกอบของเมืองได้รับแนวคิดมาจากนครฉางอันของประเทศจีนซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองการบริหารของจีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฎชัยภูมิที่ดีของการสร้างเมือง คือ การตั้งอยู่บนที่ราบที่มีภูเขาล้อมรอบ ซึ่งเกียวโตมีภูเขาล้อมรอบทั้ง 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกจากนี้ความโดดเด่นของผังเมืองเกียวโต คือ ถนนภายในเมืองถูกจัดวางตามหลักเรขาคณิตในแนวเหนือ-ใต้ และตะวันตก-ตะวันออก และชุมชนได้รับการวางผังแบบตารางหมากรุก เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงและการให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการแบ่งสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความชัดเจน เช่น ปราสาท วัด และอุทยานหลวง ดังรูปที่ 1 ซึ่งเป็นแผนที่นครหลวงเกียวโตในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 สังเกตได้ว่า ปราสาทนิโจ ซึ่งเป็นศูนย์ราชการหลักของโชกุนในเกียวโตตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของเมือง นอกจากนี้ทางทิศตะวันตกของปราสาทยังปรากฏคูน้ำล้อมรอบเมือง ถือว่าเป็นการกำหนดขอบเขตและการจัดวางผังที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังคำนึงถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และบริบทของสังคมเก่าที่มีพื้นฐานการดำรงชีวิตอยู่ในภาคการเกษตร อย่างไรก็ตาม ภายหลังที่ประเทศญี่ปุ่นประสบกับภาวะสงครามโลกเป็นเวลายาวนานและใช้เวลากว่าสิบปีเพื่อทำการฟื้นฟู จนกระทั่งประเทศเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างทางอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ของเมืองต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอย่างก้าวกระโดด และด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรมทำให้เมืองกลายเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ ประชากรอพยพย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในเมืองเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนกิจกรรมของพื้นที่เมืองยังมีไม่เพียงพอ จนก่อให้เกิดปัญหาเมืองไม่ว่าจะเป็นการจราจรหนาแน่นและติดขัด การมีพื้นที่ว่างเปล่าที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีการใช้ประโยชน์บริเวณย่านศูนย์กลางทางธุรกิจ การขยายตัวของเมืองสู่ชานเมืองมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อย่างกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ  จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับกระบวนการวางผังเมืองเพื่อแก้ไขปัญหา และสร้างเมืองให้ทันสมัย สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะนครหลวงขนาดใหญ่อย่างนครโตเกียว [2]

Downloads

Published

2021-01-15