แบบจำลองสภาพจราจรระบบขนส่งสาธารณะ: กรณีศึกษาเมืองภูเก็ต(Public Transport Modeling: A Case Study of Phuket City)

ผู้แต่ง

  • วเรศรา วีระวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราภรณ์ ยอดสุรางค์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การจำลองสภาพจราจร, แบบจำลองระดับจุลภาค, ระบบขนส่งสาธารณะ, รถโดยสารสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

จังหวัดภูเก็ตมีประชากรประมาณ 4 แสนคน แต่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเฉลี่ยมากกว่า 13 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการเดินทางในพื้นที่ส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล 60% การใช้รถโดยสารสาธารณะมีปริมาณน้อยเพียงแค่ 6.6% ภาครัฐจึงมีแนวคิดในการยกระดับพัฒนาการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการประยุกต์แบบจำลองเพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการรถโดยสารสาธารณะในเมืองภูเก็ต โดยการจำลองสภาพจราจรในระดับจุลภาคด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VISSIM กรณีศึกษานี้เลือกการให้บริการรถโดยสารสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เส้นทางที่ 2 จากตลาดสี่มุมเมืองถึงห้างซุปเปอร์ชีป ซึ่งการพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการในอนาคตจะเลือกรูปแบบที่มีความเป็นไปได้ภายใต้โครงสร้างทางปัจจุบัน ประกอบด้วย การศึกษาผลกระทบปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น การปรับให้มีช่องทางการเดินรถเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ และการเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถให้เป็นเส้นทางการเดินรถระยะสั้น ทั้งนี้การศึกษาผลกระทบโดยแบบจำลองพิจารณาจากระยะเวลาการเดินทางจากต้นทางถึงปลายทาง ความเร็วเฉลี่ยในโครงข่าย และเวลาถึงสถานีปลายทางของรถโดยสารสาธารณะ จากผลการวิเคราะห์พบว่า การที่ปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความเร็วเฉลี่ยในโครงข่ายลดลง 8.6% สถานการณ์ที่มีการปรับให้มีช่องทางการเดินรถเฉพาะรถโดยสารสาธารณะและเส้นทางการเดินรถระยะสั้น สามารถลดระยะเวลาการเดินทางจากเดิมได้ประมาณ 5 นาที 49 วินาทีต่อคัน (หรือลดลง 5.6%) และเวลาถึงสถานีปลายทางของรถโดยสารสาธารณะมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 นาที

References

[1] J. Walker, "Human transit: How clearer thinking about public transit can enrich our communities and our lives", Island Press, Washington DC, 2012.
[2] V.R. Vuchic, "Urban transit: operations, planning, and economics", John Wiley & Sons, Canada, 2005.
[3] Phuket Land Transport Office, "The Operations of Passenger Bus Transport Services in Phuket: Category 1", 2016. (in Thai)
[4] Phuket Land Transport Office, "The Operations of Passenger Bus Transport Services in Phuket: Category 4", 2016. (in Thai)
[5] Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP), "Feasibility Study: Phuket Light Rail Transit Project (Tha Nun – Chalong)", 2014. (in Thai)
[6] PKCD Company, "Intention and Operational Goals of Phuket City Development Company", 2016. (in Thai)
[7] Phuket Provincial Governor's Office, "Feasibility Study: Light Rail Transit for Phuket and Phuket Airport Rail Link", 2005. (in Thai)
[8] Phuket Provincial Administrative Organization, "Public transport bus services route", Available: http://www.phuketcity.org/bus.php, 10 November 2016. (in Thai)
[9] J. Barceló, "Fundamentals of traffic simulation", Springer, New York, US, 2010.
[10] D. Gettman and L. Head, "Surrogate safety measures from traffic simulation models", FHWA-RD-03-050, 2003.
[11] R. Dowling, A. Skabardonis, and V. Alexiadis, "Traffic analysis toolbox volume III: guidelines for applying traffic microsimulation modeling software", FHWA-HRT-04-040, 2004.
[12] H.K. Sharma, M. Swami, and B.L. Swami, "Optimizing performance of at-grade intersection with bus rapid transit corridor and heterogeneous traffic", International Journal of Transportation Science and Technology 1(2), 2012, pp.131-145.
[13] G. Papageorgiou, P. Ioannou, A. Pitsillides, T. Aphamis, and A. Maimaris, "Development and evaluation of bus priority scenarios via microscopic simulation models", IFAC Proceedings Volumes 42(15), 2009, pp.434-441.
[14] T. Satiennam, A. Fukuda, and R. Oshima, "A study on the introduction of bus rapid transit system in Asian developing cities: A case study on Bangkok Metropolitan Administration Project", IATSS research 30(2), 2006, pp.59-69.
[15] W. Weerawat and T. Thongboonpian, "Pedestrian Transit Simulation of Feeder System Case Study of Tao Poon Station", The Journal of Industrial Technology 14(1), 2018, pp.40-49. (in Thai)
[16] Department of Land Transport, "Road Traffic Act, B.E. 2522", Available: https://www.dlt.go.th
/site/skp5/m-news/1043/view.php?_did=299, 10 November 2016. (in Thai)
[17] J. Smith and R. Blewitt, "Traffic Modelling Guidelines: TfL Traffic Manager and Network Performance Best Practice Version 3.0", Transport for London, UK, 2010.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)