การออกแบบและพัฒนาผนังเปลือกอาคารเซลล์แสงอาทิตย์แบบโมดูลอเนกประสงค์

Main Article Content

จรัล รุ่งเรืองสรการ
จงจิตร์ หิรัญลาภ
ชัยพร สุภาหิตานุกุล
สุเมธ สถิตย์บุญอนันต์
โจเซฟ เคดารี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ดำเนินการพัฒนาผนังเปลือกอาคาร (facade) โดยการออกแบบติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบโมดูลอเนกประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบและติดตั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความทันสมัยของผนังเปลือกอาคาร พร้อมทั้งการประเมินประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์และประสิทธิภาพในการลดความร้อนของอาคารงานโดยผนังเปลือกอาคารประกอบด้วยผนังด้านนอกเป็นแผ่นคอมโพสิตและติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 150 วัตต์ ผนังด้านข้างและด้านหลังทำด้วยแผ่นคอมโพสิตและติดฉนวนโฟมขนาดมาตราฐานต่อโมดูล 1.20 x 2.40 x 0.35 เมตร มีการติดตั้งโมดูลหันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีการออกแบบเปรียบเทียบการเจาะช่องเปิดและปิดช่องเปิดของโมดูล และทำการตรวจวัดผลเป็นระยะเวลา 120 วัน ค่าความร้อนที่ส่งผ่านรังสีอาทิตย์มีอุณหภูมิที่ร้อนได้รับการระบายความร้อนด้วยความเร็วลมภายในโมดูล และค่าการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ผลการทดสอบประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในผนังเปลือกอาคารแบบเจาะช่อง  ผลิตไฟฟ้าได้ 0.3017 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งมากกว่าของผนังเปลือกอาคารแบบไม่เจาะช่อง ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 0.27792 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน  โดยค่าการผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจะผันแปรไปตามอุณหภูมิ กล่าวคือวันที่อุณหภูมิสูงจะมีค่าความร้อนที่ส่งผ่านรังสีอาทิตย์สูงและมีค่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สูงตามไปด้วย ทั้งนี้อุณหภูมิของโมดูลที่เจาะช่องระบายอาศมีค่าน้อยกว่าโมดูลที่ไม่เจาะช่องระบายอากาศอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดของทั้ง 2 โมเดลอยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส ดังนั้นการออกแบบสำหรับผนังเปลือกอาคารร่วมกับการติดผนังโซลาร์เซลล์และการเจาะช่องระบายอากาศ แบบโมดูลอเนกประสงค์นี้ เป็นแนวทางเลือกใหม่ในการออกแบบภายนอกของอาคารที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ในการผลิตพลังงานสะอาดและช่วยลดความร้อนของผนังอาคาร

Article Details

How to Cite
รุ่งเรืองสรการ จ. ., หิรัญลาภ จ. ., สุภาหิตานุกุล ช. ., สถิตย์บุญอนันต์ ส. ., & เคดารี โ. . (2024). การออกแบบและพัฒนาผนังเปลือกอาคารเซลล์แสงอาทิตย์แบบโมดูลอเนกประสงค์. แนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม, 22(2), 104–114. https://doi.org/10.60101/feir.2024.259327
บท
บทความวิจัย

References

Aksamija A. Sustainable facades: Design methods for high-performance building envelopes : John Wiley & Sons; 2013.

Bezaatpour J, Gholizadeh T, Bezaatpour M, Ghaebi H. Energy performance and wind exposure of windward, lateral, and leeward high-rise photovoltaic facades. Journal of Building Engineering. 2024:110956.

Thateenaranon P, Amornkitbamrung M, Hirunlabh J, Khedari J, Waewsak J. Full-scale field investigation of a bio-climatic house under Thailand tropical climate. Building and Environment. 2017;126:54-67.

Ratanachotinun J, Kasayapanand N, Hirunlabh J, Visitsak S, Teekasap S, Khedari J. Technical and economical assessment of energy-saving roof and wall construction in Thailand. Journal of the Chinese Institute of Engineers. 2016;39(1):1-11

Ananacha T, Puangsombut W, Hirunlabh J, Khedari J. Field investigation of the thermal performance of a Thai modern façade wall. International. Journal of Ventilation. 2013;12(3) :223-34

Atmaja TD. Façade and rooftop PV installation strategy for building integrated photo voltaic application. Energy Procedia. 2013;32:105-14

Yoon SD, Vuthy S, Choi HS. Design of solar modules for building façades at educational facilities in Korea. Energies. 2021;14(9):2441.

Barone G, Vardopoulos I, Attia S, Vassiliades C. Optimizing energy-efficient building renovation: Integrating double-skin façades with solar systems in the Mediterranean landscape. Energy Reports. 2024;12:2933-45.