เครื่องผสมยางมะตอยกับน้ำยางพารา เพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมการทาง

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาสัย
อังคณา พันธ์หล่อ

摘要

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องผสมวัสดุขนาดเล็กเพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมการทาง ซึ่งสามารถผสมน้ำยางมะตอยชนิดอิมัลชันกับน้ำยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเริ่มจากการออกแบบเชิงความคิดในรูปแบบที่แตกต่างกัน 3 แบบ แล้วนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดสร้าง โดยประเมินผลเป็นคะแนน เพื่อคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงดำเนินการสร้างเครื่องผสม ซึ่งประกอบด้วยส่วนหลักคือ ถังใส่ส่วนผสม เครื่องผสม ใบพัดกวนส่วนผสมและขาตั้ง จากนั้นจึงทดสอบหารูปแบบการผสมที่เหมาะสมที่สุด โดยใช้ตัวชี้วัดคือคุณสมบัติของวัสดุผสมในรูปของค่าความหนืดเซย์โบลต์ ค่าความยืดดึง และค่าระยะการจมตัวของเข็มมาตรฐาน พบว่าควรผสมวัสดุโดยใช้ความเร็วรอบของการผสมเท่ากับ 218 รอบต่อนาที ใช้ใบกวนแบบตะขอ และใช้เวลาในการผสมนาน 7 นาที ทั้งนี้วัสดุผสมที่ได้มีค่าความหนืดเซย์โบลต์เฉลี่ยเท่ากับ 20.40  วินาที ค่าความยืดดึงเท่ากับ 150 ซ.ม. และค่าระยะการจมตัวของเข็มมาตรฐานเท่ากับ  55.92 หน่วย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของกรมทางหลวง (ทล.-ก.405/2538) นอกจากนี้ยังทดสอบวัสดุผสมโดยการผสมแบบปกติที่ไม่ใช้เครื่องผสม แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับวัสดุผสมที่ได้จากเครื่องผสม พบว่าการผสมโดยใช้เครื่องผสมให้วัสดุผสมที่มีความแข็งแรงมากกว่า จากผลการวิจัยสรุปว่าเครื่องผสมมีประสิทธิภาพที่ดีเพราะสามารถลดเวลาในการผสมได้ถึง 41 % เมื่อเทียบกับการผสมโดยไม่ใช้เครื่องผสม ช่วยประหยัดวัสดุที่ใช้ในการผสม สร้างสะดวกสบายในการใช้งานและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

##submission.howToCite##
栏目
Research Articles

参考

Azahar M. et al. An Overview on natural rubber application for asphalt modification. International Journal of Agriculture Forestry and Plantation.2016; 2:212–17.

Opanukul V. Research and development of asphalt and rubber mixer.Department of Agriculture. 2005.(in Thai)

Vichitcholchai N. Prototype mobile asphalt and concentrated rubber mixer. Para Rubber Electronic Bulletin. 2008; 31:45-29. (in Thai)

Ankana Punlor and Somsak Aueatchasai.A Study for Properties of Mixture of Rapid Setting Asphalt Emulsion(CRS-2) and Concentrated Latex sphalt emulsion technology (Research report).The RSU research conference. 251-258 ;2019. (in Thai)

Salomon D. Asphalt emulsion technology (Research report). Washinton: Transportation research board; 2006.

Suaryana et al. Performance evaluation of hot mixture asphalt using concentrated rubber latex. Rubber Compound and Synthetic Polymer as Modifier. 2019;21:36-42.

Bureau of Standards and Evaluation.Department of Highway. DH-SP.405/1995;1995. (in Thai)