ศึกษาการเคลือบผ้าไนลอนด้วยฟิล์มสำหรับมาผลิตเสื้อเกราะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษากระบวนการหมักเอทานอลจากน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากการย่อยสลายฟางข้าวด้วยเอนไซม์เชื้อรา T. reesei TISTR 3080 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่ใช้ในการย่อยสลายฟางข้าวด้วยเอนไซม์เชื้อรา เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดและสภาวะที่ใช้ในการหมักสภาพฟางข้าวได้ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2 โมลาร์แยกเซลลูโลสในฟางข้าว ซึ่งทำให้เพิ่มเซลลูโลสจาก 65.35 กรัมต่อกรัมสับสเตรทเป็น 99.34 กรัมต่อกรัมสับสเตรท จากนั้นใช้เซลลูโลสในอัตราส่วน 1 หน่วยน้ำหนักต่อ 20 หน่วยปริมาตรของอาหารเหลวย่อยสลายด้วยเอนไซม์เชื้อราด้วยวิธีการเขี่ยเฉพาะเชื้อราผสมกับอาหารเหลวด้วยแท่งแก้ว ปรับค่า pH เริ่มต้นเป็น 5.3 เขย่าที่อุณหภูมิห้อง (30 degree Celsius) ด้วยอัตราเร็ว 120 รอบต่อนาที นาน 1 ชั่วโมง ทิ้งไว้ 1 วัน พบเอนไซม์จากเชื้อราสามารถเปลี่ยนเซลลูโลสเป็นน้ำตาลรีดิวซ์เฉลี่ยเท่ากับ 0.2771 กรัม ต่อกรัมสับสเตรท หรือคิดเป็นประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักของฟางข้าว ค่า pH ที่วัดได้เท่ากับ 7.4 สำหรับการทดลองเพื่อศึกษาสภาวะที่ใช้ในการหมักเอมานอลจากน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากฟางข้าว โดยนำยีสต์ S. Cerevisiae TISTR 5339 มาเลี้ยงในน้ำตาลรีดิวซ์ในอัตราส่วนความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร สภาวะของการหมักทำโดยการปรับค่า pH เริ่มต้นเป็น 5 เขย่าที่อุณหภูมิห้อง (31 degree Celsius) ด้วยอัตราเร็ว 120 รอบต่อนาที พบว่า ปริมาณเอทานอล ที่ได้สูงสุดเท่ากับ 0.1307 กรัมต่อกรัมสับสเตรทและใช้เวลาในการหมักเพียง 1 วัน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
[2] สุจิระ ของจิตต์เมตต์. การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาเส้นใยไหมมาใช้การผลิตเสื้นเกราะ
สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๔๑-๒๕๔๒.
เทคโนโลยีการผลิตผ้าไม่ทอ ปทุมธานี : ภาควิชาการวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
ราชมงคล, ม.ป.ป. รายงานโครงการวิจัยและ พัฒนาเส้นใยไหมมาใช้ในการผลิตเสื้อเกราะ กรุงเทพ ๆ: สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหาร กลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, ๒๕๔๒-๒๕๔๔
รายงานการวิจัยการศึกษา โครงสร้างเสื้อเกราะป้องกันกระสุนรุ่น DSA-100-69-C-2061 ปทุมธานี: ภาควิชาวิศวกรรม สิ่งทอคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, ม.ป.ป.
[3] สาธิต พุทธชัยยงค์. ระบบเบอร์เส้นด้าย กรุงเทพ ฯ: แผนกวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ, ม.ป.ป.
[4] อัจฉราพร ไศละสูต. ความรู้เรื่องผ.กรุงเทพสร้างสรรค์วิชาการ, ๒๕๓๙.