การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ทางจักรยานเลียบคลองรังสิต (คลอง 3- คลอง5)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ทางจักรยานเลียบคลองรังสิต (คลอง 3 – คลอง 5) ซึ่งเป็นโครงการทางจักรยานเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งเหนือ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเทศบาลตำบลบึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ซึ่งทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับคนเดินเท้าและผู้ใช้จักรยาน องค์ประกอบที่ใช้พิจารณาคือ คนเดินเท้า ยานพาหนะ ถนนและสิ่งแวดล้อม โดยสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจำนวน 421 คน และประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS V. 15 ด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ (Frequency)ซึ่งพบว่า ช่วงเวลาที่มีการใช้เส้นทางจักรยาน คือ ระหว่าง 6.00 – 9.00 น. โดยใช้เส้นทางจักรยานทำกิจกรรมในการเดินมากที่สุด และความถี่ในการใช้ทางจักรยานคือ นานๆ ครั้ง และผลในการเลือกใช้เส้นทางจักรยาน คือ ความปลอดภัย และประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเพิ่มทางจักรยาน การใช้ทางจักรยานทำให้ถึงจุดหมายเร็วขึ้น และมีความมั่นใจในความปลอดภัยของทางจักรยาน นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับความพึงพอใจในเรื่องความปลอดภัย ความมั่นใจในเส้นทาง ความเห็นด้วยกับการสร้างทางจักรยาน และความสะดวกในการใช้ทางจักรยาน อยู่ในระดับดี ส่วนความพึงพอใจในความต่อเนื่องของเส้นทางจักรยาน ที่จอดรถจักรยานความกว้างของทางจักรยาน อยู่ในระดับดี ส่วนความพึงพอใจในความต่อเนื่องของเส้นทางจักรยาน ที่จอดรถจักรยาน ความกว้างของทางจักรยาน ทัศนียภาพริมทางจักรยาน และแสงสว่างตอนกลางคืออยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ในภาพรวมแล้วประชาชนมีความมั่นใจในการใช้ทางจักรยานเพื่อการเดินเท้ามากว่าการใช้ปั่นจักรยาน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
[2] Wright, Paul H. 1996. Highway Engineering,6"ed. New York: John Wiley & Sons.
[3] ธานินทร์ ศิลปจาร. 2549. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS for Window. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พริ้นท์จำกัด.
[4] คธาวุธ สุวรรณสังข์ ชาคริส ไชยยศ และวินัยริมเขตร. 2550. ทางจักรยานเลียบคลองรังสิต(คลอง 3 -คลอง 5). ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[5] http://www.lib.nu.ac.th/web/sar/upload/2551-4.12.11.pdf (accessed on December 29,2009).
[6] สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2547. เอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับคู่มือและมาตรฐานเครื่องหมายจราจรเล่มเกริ่นนำ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.