การเพิ่มผลิตภาพของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยเทคนิค DMAIC กรณีศึกษา : โรงงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยประยุกต์นำเทคนิค DMAIC มาใช้ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การวัดสาเหตุปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา การปรับปรุงกระบวนการและการควบคุมกระบวนการ โดยประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกคือเพิ่มยอดการผลิตตามความต้องการของลูกค้า จากการทดสอบพบว่ามี 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณยอดการผลิตคือโปรแกรมการวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องจักรและวิธีการจัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งหลังจากปรับปรุงกระบวนการแล้วสามารถเพิ่มยอดการผลิตได้ 16.5% ในส่วนที่สองทำการแก้ไขปัญหาการลอยของอุปกรณ์คอนเนคเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งบกพร่องที่เกิดขึ้นสูงสุด โดยมีสาเหตุจากการโก่งของตัวอุปกรณ์ซึ่งเป็นพลาสติกหลังผ่านเครื่องหลอมดีบุก โดยหลังจากแก้ไขปัญหาสามารถลดสิ่งบกพร่องลงจาก 4.12% เหลือ 1.42% และส่วนสุดท้ายคือลดต้นทุนของดีบุกครีมลง 10% ด้วยการเปลี่ยนใช้ดีบุกครีมใหม่ ซึ่งหลังจากทดสอบพบว่าค่าความสูงดีบุกมีความแตกต่างกับค่าปัจจุบันจึงต้องทำการทดลองแบบ 25-1 แฟคทอเรียลบางส่วน (Fractional Factorial Design) เพื่อกรองหาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความสูงดีบุก และทดลองซ้ำด้วยการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปทั่วไป (General Full Factorial Design) เพื่อหาค่าระดับที่เหมาะสม ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าความสูงดีบุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 คือความเร็วการปาดดีบุกครีมและระยะห่างแบบพิมพ์กับชิ้นงาน โดยค่าระดับที่เหมาะสมคือ 75 มม.ต่อวินาทีและ 0 มม.ตามลำดับ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
The manuscript, information, content, picture and so forth which were published on Frontiers in engineering innovation research has been a copyright of this journal only. There is not allow anyone or any organize to duplicate all content or some document for unethical publication.
参考
เสกสรรก นกใหญ่, 2551. การถดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ. สารนิพนธ์์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชัยรัตน์ แจ้งจนรบ, 254. การปรับปรุงคุณภาพของการผลิตชิ้นส่วนหัวอ่านฮาร์ดดิสก์.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิกขาลับเทคโนโลยีพระจอมเกล้พระนครเหนือ.
สหพร ขำขจร, 257. การเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั่วอ่านเขียนสำหรับฮาร์ดดิสก์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อรรถพล เฉลิมพลประภา, 2547. การปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้เทคนิคลีน และซิกส์ชิกมาในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐนารี แก้วยัง, 2546. การปรับปรุงค่าซีสกอร์ความสูงของแขนหัวอ่านฮาร์ดดิสก์โมเคล 10K.7 โดยใช้แนวทางซิกซ์ซิกม่า. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สมอุษา วรรณฤมล, 2547. การถดจำนวนผลิตภัณฑ์ที่บกพร่องโดยใช้เทคนิคซิกส์ซิกมา. วิทยานิพนธ์
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภกฤต ทวังสิทธิเดช, 2552. การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยวิธีการทางซิกส์ซิกม่ากรณีศึกษาโรงงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์. การศึกษาค้นกว้าด้วยตนเองวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรม
อุตสหการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปฐมพงศ์ พันธ์พิบูลย์, 2552. การหาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการการเคลือบฟิล์มบางโดยการใช้วิธีการทางซิกซ์ซิกม่า. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยขอนเก่น.