การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุแอสฟัลต์ผสมยางในรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุแอสฟัลต์ผสมยางในรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้ว โดยใช้อัตราส่วนผสมของยางในต่อน้ำหนักรวมของส่วนผสมเท่ากับร้อยละ 0 ถึง 5 แล้วนำไปทดสอบ 1) ค่าการจมตัวของเข็มมาตรฐาน 2) ค่าจุดอ่อนตัว และ 3) ค่าความยืดดึง จากผลการทดสอบ พบว่าเมื่อเพิ่มส่วนผสมของยางในรถจักรยานยนต์มากขึ้น จะทำให้ค่าการจมตัวของเข็มลดลง อุณหภูมิของจุดอ่อนตัวของวัสดุผสมสูงขึ้น และค่าความยืดดึงลดลง ในส่วนของการนำไปใช้งาน พบว่าค่าอัตราส่วนผสมของยางในรถจักรยานยนต์ที่ควรใช้คือ ร้อยละ 1.5 ซึ่งมีค่าการยืดดึงเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมให้
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
ยางรถจักรยานยนต์. ตลาดในยังรุ่ง…เร่งมุ่งตลาดนอก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.positioningmag.com
The Use of Recycled Tire Rubber to Modify Asphalt Binder and Mixtures : Understanding how tires are used in asphalt. [online] : https://www.fhwa.dot.gov/pavement/pubs/hif14015.pdf
ธนาพร พูนสวัสดิ์, 2544. การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของแอสฟัลต์ธรรมดากับแอสฟัลต์ผสมยางล้อรถที่ใช้งานแล้วโดยวิธีการผสมแบบเปียกและแบบแห้ง. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉัตรวรุณ สุทธิรักษ์ และยรรยง เพ็ญจันทร์, 2552. การนำยางรถยนต์เก่ามาผสมกับยางมะตอบเพื่อทำแอสฟัลต์ซีเมนต์. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณพรัตน์ วิชิตชลชัย และคณะ, 2552. “การใช้ยางแห้งผสมยางมะตอยใช้ในงานทาง”ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง.
Understanding how tires are used in asphalt. [online] : http://asphaltmagazine.com/understanding-how-tires-are-used-in-asphalt
Oliver, J.W.H., 1997. “Critical Review of the Use of Rubbers and Polymers in Bitumen Board Paving Materials”, Report AIR 1037-1, Australian Road Research Board.