คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การเสริมเหล็กในองค์อาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การเสริมเหล็กในองค์อาคาร จัดทำขึ้นโดยใช้โปรแกรม Authorware ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักในการจัดลำดับบทเรียน ใช้โปรแกรม Macromedia Flash ในการสร้างภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว และใช้โปรแกรม 3D Studio Max ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ จึงทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเนื้อหา โปรแกรมนำเสนอการเสริมเหล็กขององค์อาคารหลักอันได้แก่ เสา คาน ฐานราก บันได และพื้น โดยโปรแกรมจะทำการเสนอภาพ 3 มิติ ในรูปแบบ Animation ประกอบการขยายซึ่งวิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในวิธีการหลักการของการเสริมเหล็กดียิ่งขึ้น ผู้เรียนจะมองเห็นภาพการวางตัวของเหล็กการดัดงอ เปรียบเทียบกับลักษณะการเขียนแบบจริงสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเสริมเหล็กในองค์อาคารจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพในส่วนของความเหมาะสมของเนื้อหาในบทเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา และตรวจสอบความเหมาะสมของการนพเสนอผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อ ซึ่งระดับคะแนนในส่วนภาพรวมของโปรแกรมได้เท่ากับ 4.23 แสดงว่าบทเรียนนี้มีคุณภาพดี
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์, 2543, "มาตรฐานสำหรับ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน", หนำ9-14
ชาญชัย จารุจินดา, 2542,"การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมหล็ก" บุ๊คเซนเตอร์กรุงเทพๆ, หน้า38-40 ,45 ,52-54 ,75-77,96-101
สมศักดิ์ คำปลิว, 2541, "การออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก", ซีเอ็นยูเคชั่น กรุงเทพๆ,หน้า 31-40
พรเทพ เมืองแมน, 254, ออกเบบเละพัฒนาCAI Mulimedia ด้วย Authorware, กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น,หน้ 1-15
ไพโรจน์ ตีรณธนากุลและ ไพบูลย์ เกียรติโกมล,2541, "Creating IMMCAI Package", วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, พฤษภาคม 2541, ฉบับปฐมฤกษ์, หน้า 14-18.
Riveros, V.F., Vivas, M.P. and Melo, M.M., 1998," Concept Maps in Engineering Education: A Case
Study," Journal of Engineering Education, Vol. 2,No. 1, pp. 21-28.