การเพิ่มผลิตภาพของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยเทคนิค DMAIC กรณีศึกษา : โรงงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยประยุกต์นำเทคนิค DMAIC มาใช้ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การวัดสาเหตุปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา การปรับปรุงกระบวนการและการควบคุมกระบวนการ โดยประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกคือเพิ่มยอดการผลิตตามความต้องการของลูกค้า จากการทดสอบพบว่ามี 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณยอดการผลิตคือโปรแกรมการวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องจักรและวิธีการจัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งหลังจากปรับปรุงกระบวนการแล้วสามารถเพิ่มยอดการผลิตได้ 16.5% ในส่วนที่สองทำการแก้ไขปัญหาการลอยของอุปกรณ์คอนเนคเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งบกพร่องที่เกิดขึ้นสูงสุด โดยมีสาเหตุจากการโก่งของตัวอุปกรณ์ซึ่งเป็นพลาสติกหลังผ่านเครื่องหลอมดีบุก โดยหลังจากแก้ไขปัญหาสามารถลดสิ่งบกพร่องลงจาก 4.12% เหลือ 1.42% และส่วนสุดท้ายคือลดต้นทุนของดีบุกครีมลง 10% ด้วยการเปลี่ยนใช้ดีบุกครีมใหม่ ซึ่งหลังจากทดสอบพบว่าค่าความสูงดีบุกมีความแตกต่างกับค่าปัจจุบันจึงต้องทำการทดลองแบบ 25-1 แฟคทอเรียลบางส่วน (Fractional Factorial Design) เพื่อกรองหาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความสูงดีบุก และทดลองซ้ำด้วยการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูปทั่วไป (General Full Factorial Design) เพื่อหาค่าระดับที่เหมาะสม ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าความสูงดีบุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 คือความเร็วการปาดดีบุกครีมและระยะห่างแบบพิมพ์กับชิ้นงาน โดยค่าระดับที่เหมาะสมคือ 75 มม.ต่อวินาทีและ 0 มม.ตามลำดับ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแนวหน้าวิจัยนวัตกรรมทางวิศวกรรม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ เท่านั้น ไม่อนุญาติให้บุคคลหรือหน่วยงานใดคัดลอกเนื้อหาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่เพื่อกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
References
เสกสรรก นกใหญ่, 2551. การถดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ. สารนิพนธ์์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชัยรัตน์ แจ้งจนรบ, 254. การปรับปรุงคุณภาพของการผลิตชิ้นส่วนหัวอ่านฮาร์ดดิสก์.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิกขาลับเทคโนโลยีพระจอมเกล้พระนครเหนือ.
สหพร ขำขจร, 257. การเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั่วอ่านเขียนสำหรับฮาร์ดดิสก์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อรรถพล เฉลิมพลประภา, 2547. การปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้เทคนิคลีน และซิกส์ชิกมาในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐนารี แก้วยัง, 2546. การปรับปรุงค่าซีสกอร์ความสูงของแขนหัวอ่านฮาร์ดดิสก์โมเคล 10K.7 โดยใช้แนวทางซิกซ์ซิกม่า. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สมอุษา วรรณฤมล, 2547. การถดจำนวนผลิตภัณฑ์ที่บกพร่องโดยใช้เทคนิคซิกส์ซิกมา. วิทยานิพนธ์
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภกฤต ทวังสิทธิเดช, 2552. การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยวิธีการทางซิกส์ซิกม่ากรณีศึกษาโรงงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์. การศึกษาค้นกว้าด้วยตนเองวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภากวิชาวิศวกรรม
อุตสหการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปฐมพงศ์ พันธ์พิบูลย์, 2552. การหาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการการเคลือบฟิล์มบางโดยการใช้วิธีการทางซิกซ์ซิกม่า. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. มหาวิทยาลัยขอนเก่น.