Requirement of the Organizations in Qualification for Civil Engineering

Main Article Content

ประชุม คำพุฒ
พชรพงศ์ ไพฑูรย์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงคุณสมบัติทางด้านต่างๆของวิศวกรโยธาที่หน่วยงานต้องการซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการสมัครงานของบัณฑิตใหม่สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาได้ โดยทากรสำรวจเก็บข้อมูลในรูปของแบบสอบถามจำนวน 500 ฉบับ ส่งให้กับกลุ่มตัวอย่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินกิจการในสายงานวิศวกรรมโยธา ได้รับผลตอบกลับจำนวน 233 ชุด คิดเป็นร้อยละ 46.6 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยรวม และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของหน่วยงานเมื่อเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดคือ ด้านบุคลิกภาพการพูด การมีมนุษยสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำและความมั่นใจในตนเอง รองลงไปคือ ด้านวิชาการ สาขาวิศวกรรมบริหารงานก่อสร้างและอันดับสุดท้ายคือด้านประวัติการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและทักษะพิเศษ ส่วนของหลักในการพิจารณาคัดเลือกวิศวกรโยธาเข้าทำงานคือ วิศวกรต้องเป็นคนที่ขยัน อดทน มีความสามารถในการนำความรู้ที่ศึกษามาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ ซึ่งปัญหาที่พบระหว่างการพิจารณาคัดเลือกวิศวกรโยธาเข้าทำงานคือ วิศวกรไม่มีคุณสมบัติตามที่หน่วยงานต้องการ  อีกทั้งเรียกค่าตอบแทนสูงเกินความสามารถที่ตนเองมี และปัญหาที่พบหลังจากการคัดเลือกวิศวกรโยธาเข้าทำงานแล้วคือ วิศวกรไม่มีความอดทนในการทำงาน ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และไม่สามารถนำความรู้จากที่เรียนมาใช้กับงานจริงได้

Article Details

How to Cite
คำพุฒ ป. ., & ไพฑูรย์ พ. . (2003). Requirement of the Organizations in Qualification for Civil Engineering. Frontiers in Engineering Innovation Research, 4, 45–53. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242337
Section
Research Articles

References

กัลยา วานิชย์บัญชา, การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล, พิมพ์ ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, การวิจัยตลาดฉบับมาตรฐาน, กรุงเทพฯ,บจ.AN การพิมพ์,2540.

สภาวิศวกร, คู่มือคู่คิดวิศวกร, กรุงเทพๆ,หจก.รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, 2542.

สภาวิศวกร, พระราชบัญญัติ ข้อบังคับระเบียบสภาวิศวกร, กรุงเทพฯ บจ.จุดทอง,2542.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษา, มปท,2546.