การประยุกต์ใช้งานจิ๊กและฟิกซ์เจอร์แบบโมดูลาร์เพื่องานกัด CNC

Main Article Content

วิเชียร เถื่อนเครือวัลย์

Abstract

ปัญหาหลักในการจับยึดชิ้นงานกัด บนเครื่องกัด CNC ในปัจจุบัน พบว่าการใช้ปากกาธรรมดาหรือแขนกดแบบแผ่น (Clamping) นั้นจะทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิต ซึ่งจะต้องมีการหยุดการทำงานของเครื่องกัดเป็นเวลานานในการเปลี่ยนชิ้นงานกัดแต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยจะเสียเวลาประมาณ 5 – 10 นาที ต่อการเปลี่ยนชิ้นงานกัดหนึ่งชิ้น ในการผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากๆ (Mass Productions) ก็ยิ่งทำให้ต้องสูญเสียเวลาการทำงานของเครื่องจักรฯ มากขึ้นตามไปด้วย  ดังนั้น จึงมีแนวความคิดที่ต้องการลดเวลาการจับยึดชิ้นงานกัดของเครื่องกัด CNC โดยการพัฒนานำจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ระบบโมดูลาร์มาใช้แทนการจับยึดชิ้นงานกัดแบบเก่า เพราะจิ๊ก ฟิกซ์เจอร์ระบบโมดูลาร์นั้นสามารถทำการเตรียมการจับยึดชิ้นงานนอกเครื่องจักรฯได้  สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่า วิธีการทดลอง เมื่อออกแบบและสร้างตัวจับยึดชิ้นงานเสร็จแล้วนำไปประกอบเข้ากับอุปกรณ์มาตรฐานของจิ๊ก และฟิกซ์เจอร์ จากนั้นทำการทดลองกัดชิ้นงานโดยใช้วัสดุเหล็ก S45C ขนาด 140 × 120 × 150 มม. ทำการกัดเป็นหลุมขนาด 85 × 80 มม. ลึก 20 มม. แล้วเปรียบเทียบผลกับการจับยึดชิ้นงานด้วยปากกาธรรมดา ผลที่ได้จากการศึกษาทดลองพบว่า (1) เวลาปรับตั้งชิ้นงานกัดลดลง 14.7 นาที หรือ 147% (2) ค่าใช้จ่าย ปรับตั้งชิ้นงานกัดลดลอง 125 บาท หรือ 2.4 เท่า (3) ต้นทุนการผลิตลดลง 5 บาท ต่อชิ้น หรือ 9% และ (4) ระยะเวลาคืนทุน 2.7 ปี เมื่อเงินลงทุนซื้ออุปกรณ์มาตรฐานจิ๊กและฟิกซ์เจอร์ระบบโมดูลาร์ เท่ากับ 40,000 บาท

Article Details

How to Cite
เถื่อนเครือวัลย์ ว. . (2003). การประยุกต์ใช้งานจิ๊กและฟิกซ์เจอร์แบบโมดูลาร์เพื่องานกัด CNC. Frontiers in Engineering Innovation Research, 4, 1–6. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jermutt/article/view/242332
Section
Research Articles

References

วชิระ มีทอง. การออกแบบจิ๊กและฟิกซ์เจอร์. กรุงเทพมหานคร: เอเชีย เพลส์, 2545.

Edward G. Hoffman. Jig and Fixture Design. New York : Delmar, 1996.

Hitachi Seiki. Manual Program.Japan : Seiki, 1991.

http://www.EROWA.com